การมีส่วนร่วมในจัดการป่าชุมชนบ้านต้นผึ้ง ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศิรินทิพย์ ผาเจริญ
วินิจ ผาเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัญหาอุปสรรคในการจัดการป่าชุมชนบ้านต้นผึ้ง 2) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน โดยระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บมูลจากกลุ่มผู้นำชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชน ตัวแทนประชาชน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จำนวน 16 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนา และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย


ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพป่าชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ มีการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน เป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้เสริม แหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปัญหาอุปสรรคที่พบในการจัดการป่าชุมชนที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนยังไม่เต็มศักยภาพ ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน มีรูปแบบที่เหมาะสม 2 รูปแบบ คือ 1) การจัดการป่าชุมชนในรูปแบบวิถีดั้งเดิมเชิงวัฒนธรรม 2) การจัดการป่าชุมชนในรูปแบบแบบพัฒนาเชิงเอนกประสงค์ โดยมีขั้นตอนที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมการจัดการป่าชุมชน 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วม 2) การดำเนินกิจกรรมการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน 3) การสร้างกลุ่มและเครือข่าย โดยปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชน ภาคประชาชน และการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ภายใต้เงื่อนไขของเวลา อายุ อาชีพและรายได้ ซึ่งจะหนุนเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้ ส่วนส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน (2560). ฐานข้อมูลป่าชุมชน .[Online]. Available from: http://www.forest.go.th/index.php?lang=th.

ดุสิต เวชกิจ.(2546). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าชุมชน : ศึกษากรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช:นนทบุรี

ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ, ญาณวุฒิ อุทรักษ์, ธนัทเดช โรจนกุศล, ณัชชา เหล่าสุวรรณ,สิริธร ดำรง สุกิจและกนกอร พัดทะอำพัน. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนโคกกระโหล่งโป่งแดง ตำบลหนองเรือ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 14(2), 149-169

บัณฑิต ศิริรักษ์โสภณ. (2561). การเมืองเรื่องป่าชุมชน: ปัญหาเชิงนโยบายและระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในสังคมไทย. วารสารธรรมศาสตร์, 37 (2), 146

ศศิน เฉลิมลาภ. (2563). สถานการณป่าไมประเทศไทย. [Online]. Available from: www.seub.or.th

สุภาภรณ์ วรพรพรรณ.(2551). รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 10 ประจำปี 2551: ประเภทชุมชน (ชุมชน ชุมชนเมือง เครือข่ายชุมชน).

อภิชาติ ใจอารีย์. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 36 (1), 111-138

Promsing K. & Sangkarat U. (2014). Potential in Watershed Forest Management: Banthat Mountain Range. Srinakharinwirot Research and Development. Journal of Humanities and Social Sciences, 6(12), 1-13.