การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุนันทา ธรรมเสนา
ประเสริฐ ปอนถิ่น
อภิรมย์ สีดาคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการป่าชุมชน 2) ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชน 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มองค์กร/หน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 17 คน โดยการรวบรวมข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารและข้อมูลภาคสนาม มีการสำรวจพื้นที่ การสังเกต การสัมภาษณ์ แล้วทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่ศึกษา จากนั้นนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา


จากผลการศึกษาพบว่า บ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  มีพื้นที่ป่าชุมชน 1,000 ไร่ มีสภาพป่าที่มีศักยภาพเป็นแหล่งอาหารป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์หมุนเวียนตลอดปีและมีการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ของคนในชุมชน แต่งตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนอย่างชัดเจน การบริหารจัดการป่าชุมชนที่เน้นกลไกการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและน้อมนำการประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 7 ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชน สำหรับแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อการพึ่งพาและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย 7 ปัจจัย ได้แก่ ที่อยู่เหมาะสม การคมนาคมเหมาะสม การพูดคุยเหมาะสม บุคคลเหมาะสม อาหารเหมาะสม อากาศเหมาะสม และอิริยาบถเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). แผนจัดการมลพิษ พ.ศ. 2555–2559. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและประเมินผลกรมควบคุมมลพิษ.

โกมล แพรกทอง. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับป่าไม้ชุมชน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คณิต ธนูธรรมเจริญ และศิรินทิพย์ ผาเจริญ. (2566). แผนชุมชน : การใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินชุมชนตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(1), 93-108.

ธนพร เรือนคำ. (2565). วัดเชียงมั่น: การพัฒนาตามหลักสัปปายะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา, เชียงใหม่.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2537). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรม จํากัด.

พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย. (2564). รูปแบบการบริหารการจัดการโรงเรียนสีเขียวตามหลักสัปปายะ 7 แบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

วินิจ ผาเจริญ และชาญชัย ฤทธิร่วม. (2565). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาบ้านตลาดขี้เหล็ก ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 47-58.

วิษณุ ทรายแก้ว, จตุพร ชูจันทร์ และภมรรัตน์ สุธรรม. (2560). พัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชนที่ยั่งยืนของประชาชนบ้านยางโพรง ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฎสุราษฏร์ธานี, 4(2), 273-290.

สรรเพชร เพียรจัด. (2565). การพัฒนาสื่อเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขาอังคารบนฐานการมีส่วนร่วมของเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.