อิทธิพลความยาวนานแสงแดดต่อวันที่มีต่อพืชอาหารสำคัญในพื้นที่แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน

Main Article Content

ศรัณย์เวธน์ ยอดมณี
นิกร มหาวัน
วิทยา ดวงธิมา
พันธุ์ระวี กองบุญเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ความยาวนานแสงแดดรายวัน (2) เพื่อศึกษาความยาวนานแสงแดดต่อวันที่มีผลต่อพืชอาหารที่สำคัญในพื้นที่แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน โดยใช้ข้อมูลค่าความยาวนานแสงแดดเฉลี่ยรายวัน ในช่วง พ.ศ. 2530-2565 จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ รวมถึงการคาดการณ์ความยาวนานแสงแดดรายวันในอนาคตด้วยโปรแกรมMann-Kendall Test and Sen's Slope Estimates ผลการศึกษาพบว่า ค่าความยาวนานแสงแดดเฉลี่ยรายวัน อยู่ในช่วง 3.81-8.87 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนค่าคาดการณ์ความยาวนานแสงแดดรายวันในอนาคต มีแนวโน้มลดลงในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน มิถุนายน และ กันยายน ในขณะที่เดือนอื่น ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเกณฑ์ความต้องการความยาวนานแสงแดดต่อวันของพืช พบว่า สถานการณ์ค่าความยาวนานแสงแดดเฉลี่ยรายวันวันของอ้อย ผักกวางตุ้ง คะน้า หอมหัวใหญ่ และ หอมแดง ไม่เพียงพอ ในขณะที่ ลำไย กะหล่ำปลี และ หอมแบ่งหรือต้นหอมขาว มีแสงแดดที่เพียงพอเฉพาะในเดือน มกราคม-เมษายน ในส่วนของมะม่วง มีแสงแดดไม่เพียงพอในเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน เช่นเดียวกับข้าวโพดหวาน มันสำปะหลังมีแสงแดดไม่เพียงพอในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม สุดท้ายในข้าวนาปี ต้นชา มันฝรั่ง และ ข้าวนาปรัง มีแสงแดดที่เพียงพอตลอดช่วงปลูก-เก็บเกี่ยว หากพิจารณาโดยการคาดการณ์ค่าความยาวนานแสงแดดในอนาคต พบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าความยาวนานแสงแดดรายวันเพียงพอต่อความต้องการตั้งแต่ช่วงปลูก-เก็บเกี่ยวแค่ ข้าวนาปี ข้าวโพดหวาน มันสำปะหลัง ต้นชา มันฝรั่ง และ ข้าวนาปรัง จากสถานการณ์และการคาดการณ์ดังกล่าวแสดงถึงอิทธิพลของแสงแดดต่อการเติบโตของพืชที่บางกลุ่มในปัจจุบันและจะขาดแคลนรุนแรงขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงเป็นต้องมีมาตรการรองรับ เช่น ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มความยาวนานแสงแดดต่อวัน หรือการปรับเปลี่ยนช่วงปลูก-เก็บเกี่ยวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของแสงแดดตามความต้องการของพืชอาหารแต่ละชนิดให้เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. (ม.ป.ป.). ชนิดของพันธุ์ข้าว แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://ricecloud.ricethailand.go.th

กรมที่ดิน. (ม.ป.ป.). ดินออนไลน์ บริการข้อมูลดินและการใช้ที่ดินของกรมที่ดิน. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566, จาก https://dinonline.ldd.go.th/

กรมวิชาการเกษตร. (ม.ป.ป.). วิธีการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผล. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://www.doa.go.th/fc/ubonratchathani

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2551). คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พืชตระกูลกะหล่ำ (คะน้า, ผักกวางตุ้ง). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567, จาก http://www.agriman.doae.go.th

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). การปลูกพืชผักสำหรับคนในเมือง. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567, จาก http://www.agriman.doae.go.th

กรมส่งเสริมการเกษตร. (ม.ป.ป.). การปลูกอ้อยจากกรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567, จาก http://www.servicelink.doae.go.th

กรมส่งเสริมการเกษตร. (ม.ป.ป.). มันสำปะหลัง. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567, จาก http://www.agriman.doae.go.th

ช่อลัดดา เที่ยงพุก. (2561). ลำไยและผลิตภัณฑ์สำคัญที่ผลิตมาจากลำไย. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2567, จาก file:///C:/Users/ASUS/Downloads/KUJOUR02300131c1%20(1).pdf/

ทำเกษตร. (2564). ปลูกหอมแดงในกระถางอย่างไรให้ได้ผลที่ดี. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.kasetorganic.com

นิกร มหาวัน และวันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ. (2562). สถานการณ์และแนวทางบรรเทาผลกระทบจาก Global Dimming กรณีศึกษาประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ.

นิธิยา รัตนาปนนท์ และดนัย บุณยเกียรติ. (ม.ป.ป.). พฤกษศาสตร์ของหอมหัวใหญ่. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567, จาก https://www.phtnet.org

ภราดร เพตาเสน. (2550). อิทธิพลของฤดูปลูกที่มีผลต่อคุณภาพและผลผลิตของพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมในพื้นที่ อำเภอสันทราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ภัทราพร วงษ์น้อย. (2556). ฤดูกาล. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://www.lib.ru.ac.th

มิตรเอิร์ธ. (2566). ขอบเขตการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566, จาก https://web.facebook.com/photo.php?fbid=831938318724973&set

มิตรเอิร์ธ. (2566). ภูมิประเทศ. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566, จาก https://web.facebook.com/photo.php?fbid=831938345391637&set

รัชนีวรรณ คำตัน, ขนิษฐา เสถียรพีระกุล, ฑีฆา โยธาภักดี และเก นันทะเสน. (2562). ปัญหาหมอกควันและผลกระทบสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 256-273.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (ม.ป.ป.). แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566, จาก http://www.polsci.tu.ac.th

วิลาวรรณ น้อยภา และวาสิฐี ภักดีลุน. (2564). การจัดการและลดการเผาในพื้นที่เกษตรของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://www.tei.or.th

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร. (ม.ป.ป.). พฤกษศาสตร์ของข้าวโพดหวาน. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2567, จาก https://esc.doae.go.th

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. (ม.ป.ป.). สถิติข้อมูลค่าความยาวนานแสงแดดรายวัน ในช่วง พ.ศ.2530-2565. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566, จาก https://www.facebook.com/NorthCmmet/

สังคม เตชะวงค์เสถียร. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://ag.kku.ac.th/suntec

สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2565). สนพ.เผยการปล่อยก๊าซ CO2 ภาคพลังงาน H1/65 เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจฟื้น. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.infoquest.co.th/2022/239961

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ปฏิทินการปลูกพืชในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://chiangmai.doae.go.th/province/?page_id=2047

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). สถิติการปลูกพืชในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://chiangmai.doae.go.th

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง. (ม.ป.ป.). ปฏิทินการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก http://www.lampang.doae.go.th

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน. (ม.ป.ป.). สถิติการปลูกพืชในจังหวัดลำพูน. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2567, จาก https://lamphun.doae.go.th

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา. (ม.ป.ป.). พฤกษศาสตร์ของมะม่วง. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะคา. (ม.ป.ป.). ปฏิทินการปลูกพืชผักบางชนิด. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://kokha.lampang.doae.go.th

สุปราณี นาคดิลก. (ม.ป.ป.). ผลกระทบของฝุ่นละออง PM2.5 กับการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567, จาก https://webkc.dede.go.th

อภิรักษ์ หลักชัยกุล. (2557). รายงานผลการศึกษา เรื่องการปลูกมันฝรั่งฤดูแล้ง ปี พ.ศ.2556/57. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://www.agriman.doae.go.th

ฮ.ฮูก ดอทคอม. (ม.ป.ป.). หอมแบ่ง. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567, จาก http://webhtml.horhook.com

CMRUIR. (ม.ป.ป.). ความพึงพอใจของชุมชนต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th

GIB. (ม.ป.ป.). ข้าวไวต่อช่วงแสงไม่ไวต่อช่วงแสง. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://www.gib.co.th

Hunt, S. (2000). Effects of irradiance on photosynthetic CO2 uptake and chlorophyll fluorescence. In: Karcher, S.J. (Ed.), Tested Studies for Laboratory Teaching (pp.225-247). In: vol. 21 Karcher, S.I. (Ed.), Proceedings of the 21st Workshop Conference of the Association for Biology Laboratory Education (ABLE), 509.

Picturethisai. (ม.ป.ป.). คู่มือดูแลต้นชา. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567, จาก https://www.picturethisai.com

Surinseed. (2022). วิธีปลูกกะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://www.surinseed.com

Wild, M. (2009). Global dimming and brightening: A review, Journal of geophysical Research, 114, D00D16, doi:10.1029/2008JD011470

Wild, M. (2009). How well do IPCC-AR4/CMIP3 climate models simulate global dimming/brightening and twentieth- century daytime and nighttimewarming?, J. Geophys. Res., 114, D00D11, doi:10.1029/2008JD011372.