ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระเบียบวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 392 คน เครื่องมือการวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ 2) เปรียบเทียบระดับประชาชนที่มีความพึงพอใจต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปี๊ อำเภอ แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแตกต่างด้านอาชีพและด้านการศึกษากันในด้านศีล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนด้านสมาธิและด้านปัญญา ประชาชนมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะพบว่า ควรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย 1) ด้านศีล คือการควบคุมรักษาตนให้ปรกติ ปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของความสุจริต ไม่ตั่งอยู่ในความเบียดเบียน 2) ด้านสมาธิ คือ ความตั้งใจปฏิบัติงาน 3) ด้านปัญญา คือ ความเข้าใจ ความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถในการปฏิบัติงาน และสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการปฏิบัติงานได้ทันท่วงที ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชลาทิพย์ ชัยโคตร. (2560). การบริหารราชการไทย. เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการบริหาร ราชการไทย. สาขารัฐประศาสนศาสตร: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ชวัลณัฎฐ์ ปาลีย์รวี, อภิรมย์ สีดาคำ และประเสริฐ ปอนถิ่น. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(2), 50-64.
บังอร บรรเทา. (2559). การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครองการบริหารการจัดการการบริหารทรัพยากรมนุษย์นโยบาย, 6(9), 287.
พระมหาศิริชัย สิรินฺทญาโณ (ศรีรัมย์). (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วน ตำบลใน อำเภอลำปรายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระเอกราช กิตฺติธโร (สมเผ่า). (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
ยุทธศาสตรชาติ (พ.ศ. 2569-2580). (2561, 3 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 935 ตอนที่ 82 ก. หน้า 34.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2556). คุณภาพชีวิต การทำงานและความสุข. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุดเขต สกุลทอง. (2566). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการบริหารแนวใหม่ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(1), 16-29.
สุหัชชา พิมพ์เนาว์. (2560). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
อภิรมย์ สีดาคำ, นพดณ ปัญญาวีรทัต และวินิจ ผาเจริญ. (2565). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(2), 23-32.
อลิศรา ชัยสงค์, นพดณ ปัญญาวีรทัต และประเสร็จ ปอนถิ่น. (2566). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของคลินิกตาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4 (2),44-58.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.