ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของสตรีในการผลิตผ้าทอพื้นบ้านในพื้นที่เมืองหงษาแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

กิดสหนา จันทะคูน
พุฒิสรรค์ เครือคำ
นคเรศ รังควัต
สายสกุล ฟองมูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของสตรีในพื้นที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของสตรีในการผลิตผ้าทอพื้นบ้านในเขตพื้นที่ เมืองหงสา แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ จากตัวอย่างสตรีที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองหงษา แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 184 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับทัศนคติของสตรีในพื้นที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีค่าเฉลี่ยทัศนคติที่มีต่อการผลิตผ้าทอพื้นบ้านอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.02 คะแนน) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยทัศนคติมากสุด คือ ความรู้ด้านการตลาด  มีค่าเฉลี่ย 3.12 คะแนน รองลงมา ได้แก่ ด้านการดำเนินการผลิตผ้าทอพื้นบ้าน และด้านการอนุรักษ์การผลิตผ้าทอพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3.09 คะแนน และด้านการวางแผนการผลิตผ้าทอ ค่าเฉลี่ย 2.73 คะแนน และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของสตรีในการผลิตผ้าทอพื้นบ้านในเขตพื้นที่ เมืองหงสา แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีทั้งหมด 5 ตัวแปร โดยเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ รายได้จากการผลิตผ้าทอ รายได้นอกจากการผลิตผ้าทอ ความรู้ในการผลิตผ้าทอพื้นบ้าน ประสบการในการณ์ทอผ้า ในขณะที่ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ได้แก่ ชาติพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า. (2563). รายงานประจำปี 2563. ม.ป.ท.

กัลยา วานิชบัญชา. (2548). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

แผนกอุตสาหกรรมและการค้าแขวงไชยะบูรี. (2563). รายงานประจำปี 2563. ม.ป.ท.

พุฒิสรรค์ เครือคํา, ทวีชัย คําทวี และปภพ จี้รัตน์. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับทัศนคติต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง. วารสารผลิตกรรมการเกษตร. 1(3), 69-77.

วรรพิรัญญา อินทร์โท, ชัยชาญ วงศ์สามัญ และยศ บริสุทธิ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตผ้าไหมอย่างต่อเนื่องตามความคิดเห็นของสตรี ภายใต้การสนับสนุนของ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงายวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 (น.1985). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 2(4), 1-15.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2536). การวิจัยประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

ห้องการอุตสาหกรรมและการค้าเมืองหงษา. (2563). รายงาน. ม.ป.ท.

อมรา พงศาพิชญ์. (2537). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรณิชาณ์ ปารมี, จุฑาทิพย์ เฉลิมผล, อภิรัฐ บัณฑิต และรุจศิริ สัญลักษณ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามระบบฝึก อบรมและเยี่ยมเยียนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในภาคเหนือตอนบน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 11(2), 167-177.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper International.