บทบาทสตรีกับการพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและเพิ่มโอกาสกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อการสร้างรายได้ที่มั่นคง ในพื้นที่ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

Main Article Content

สนธยา ปานแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทสตรีกับการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนและสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและแนวทางต่อการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในการพัฒนากลุ่มอาชีพ บ้านนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลบทบาทกลุ่มสตรีและการพัฒนาอาชีพ โดยวิธีการทำแผนที่ทางเดินชีวิต แผนที่เดินดิน การทำปฏิทินระบบการผลิต การวิเคราะห์รายรับรายจ่ายด้วยเครื่องมือโอ่งชีวิต การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือกลุ่มอาชีพสตรี จำนวน 10 คน และการศึกษาด้วยวิธีการสนทนากลุ่มเล็ก


ผลการดำเนินงาน พบว่า บทบาทสตรีกับการพัฒนาอาชีพ ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม การวาดแผนที่ทางเดินชีวิต การวิเคราะห์บทบาทสตรีกับการพัฒนากลุ่มอาชีพ ด้วยเทคนิคโอ่งชีวิต วิเคราะห์รายรับรายจ่ายของกลุ่มอาชีพ และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ แนวทางการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาชีพ มีการแบ่งหน้าที่ของกลุ่มสตรี การวางแผนการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน การขอรับรองการเป็นวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล แนวทางการเพิ่มโอกาสกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า บทบาทกลุ่มสตรีหรือกลุ่มอาชีพ มีความตระหนักต่อประเด็นของการรวมกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีโครงสร้างคณะทำงานระดับพื้นที่ (ผู้ก่อการดี) จำนวน 10 คน แนวทางการพัฒนาตลาดชุมชน แนวทางตลาดออนไลน์ เพื่อจำหน่ายสินค้า 4 ประเภท เช่น ผ้าบาติก ผ้ามัดย้อม ขนม อาหารพื้นบ้าน จักสาน อาหารทะเลแปรรูป เพิ่มยอดจำหน่าย 10,000-15,000 บาท/ต่อเดือน ได้รับการจดทะเบียนรับรองเป็นวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ทองทั่ว. (2552). ลีลาวิจัยไทบ้าน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

จุฑาทิพย์ ภัทรวาท. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ปริพนธ์ วัฒนขำ และคณะ. (2552). รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอาหารชุมชน กรณีศึกษาบ้านติดต่อ ตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พัฒนะพงศ์ ลาพิงค์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสนับสนุนกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็งขององค์การบริหาร ส่วนตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สิทธิชัย อุยตระกูล. (2540). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

สิทธิณัฐ ประพุทธนิมิต. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. เชียงใหม่: วนิดา เพรส.

สุกัญญา ทัศมี. (2554). ปัญหาในการบริหารจัดการของ กลุ่มอาชีพจักสานด้วยไม้ไผ่ บ้านน้อยโนนจำนง ตำบล พรรณนา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุนทร คุณชัยมัง. (2554). การทำงานรวมกลุ่มเพื่อสร้างผลลัพธ์ร่วมกัน. กรุงเทพฯ: บริษัท อิมเมสพลัส คอมมิวนูเคชั่น จำกัด.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เจริญการพิมพ์.