ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปน้ำพริกหมูฝอยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและอาหารแปรรูป ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปน้ำพริกหมูฝอยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและอาหารแปรรูปตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่างคือ ผู้บริโภคน้ำพริกหมูฝอยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย Chi-square test
ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนใหญ่มีระดับความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ สำหรับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปน้ำพริกหมูฝอย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่แสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ เป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ พบว่า ปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ รายได้ เหตุผลในการเลือกซื้อ และผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อน้ำพริกหมูฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตชยา มาต๊ะ. (2548). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในงานแสดงสินค้าจังหวัดเชียงราย. (การศึกษาอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, เชียงราย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิติสำหรับนักวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญผล.
พเยาว์ สมหมาย. (2546). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฎสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.
– 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อรนงค์ บุญวัน. (2554). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
อัสมา บุดดีเสาร์ .(2549). กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสุกร. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.