การพัฒนาเกษตรกรต้นแบบภายใต้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุวรรณี รอวิชัย
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
ภาวิณี อารีศรีสม
พิณนภา หมวกยอด
นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์
กอบลาภ อารีศรีสม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริบททั่วไปในการดำเนินงานของเกษตรกรต้นแบบ ภายใต้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ ของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานทางการเกษตร ของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ ของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มสมาชิกเกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-หวยซั้ว ทั้งหมด 2 อำเภอคือ กลุ่มสมาชิกเกษตรกรต้นแบบที่อยู่พื้นที่อำเภอนาชายทอง จำนวน 78 ครอบครัว และ อำเภอสังทอง จำนวน 16 ครอบครัว รวมทั้งสิ้น 94 ครอบครัว ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ 2 ราย และสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ทั้งสิ้น 30 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติอนุมาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 41-50 ปี นับถือศาสนาพุทธ มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมีสถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีประสบการณ์ทำอาชีพทางการเกษตรมากกว่า 15 ปีขึ้นไป เกษตรกรต้นแบบส่วนมากเป็นเจ้าของพื้นที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่ มีแรงงานที่ช่วยทำอาชีพเกษตรกรรมอยู่ 2 คน ลักษณะรายได้ของครัวเรือนมีรายได้สม่ำเสมอเพียงพอเหลือเก็บ มีรายได้เฉลี่ยในครัวเรือน 50,001-100,000 บาท/ปี รายได้จากการเกษตรกรเฉลี่ย 50,001-100,000 บาท/ปี เกษตรกรต้นแบบส่วนมากไม่มีเงินออมแต่เกษตรกรต้นแบบส่วนมากไม่มีหนี้สิน แหล่งทุนที่ใช้ในการทำเกษตรด้วยทุนของตนเอง เกษตรกรต้นแบบส่วนใหญ่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ของศูนย์และมีแปลงใหญ่เป็นของตัวเอง วัตถุประสงค์หลักในการทำการเกษตรเพื่อยังชีพส่วนหนึ่ง ที่เหลือนำไปจำหน่าย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการก็คือศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว และเคยได้รับการอบรมด้านการเกษตรมาแล้ว การดำเนินงานทางการเกษตรของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว พบว่า เกษตรกรต้นแบบมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.27) ในแต่ละด้านพบว่า การดำเนินงานด้านองค์ประกอบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว โดยรวมเกษตรกรต้นแบบได้มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.48) โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านเกษตรกรต้นแบบ ด้านแปลงเรียนรู้ด้านหลักสูตการเรียนรู้และด้านฐานเรียนรู้ส่วนด้านการบริหารจัดการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.53) ด้านการขยายผลสู่การปฏิบัติของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.23) ด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว คือมีการปฏิบัติอยู่ในระดับที่มาก (ค่าเฉลี่ย 3.86). ในส่วนปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ในแต่ละด้านเห็นว่ามีการส่งเสริมดีมากแต่ด้านที่เพิ่มการปรับปรุงส่งเสริมมากที่สุดคือ ฐานเรียนรู้ยังไม่สอดคล้องกับหลักสูตรยังไม่ส่งผลเอื้อต่อการพัฒนาเกษตรกร และเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการรวมถึงการวางแผนการดำเนินงานการผลิตสินค้าเชื่อมโยงสู่การตลาด ส่วนปัจจัยภายนอก ประกอบมี 2 ด้าน เห็นว่าในแต่ละด้านนั้นตอบสนองต่อส่งเสริมดีแล้ว นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว พบปัญหาเกี่ยวกับฐานการเรียนรู้ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือสาธิต มีลักษณะเก่าแก่ เสื่อมโทรม ขาดงบประมาณ ในการบูรณะซ่อมแซม ส่วนหลักสูตรเรียนรู้ในด้านการเรียนการสอนยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เข้มแข็งเท่าที่ควร เนื่องมาจากการขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ และพนักงานในศูนย์ยังมีระดับการศึกษาที่ต่ำ การยกระดับทางด้านทางด้านวิชาเฉพาะของพนักงานไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ส่วนเกษตรกรต้นแบบพบปัญหาในการขาดความรู้ทางด้านเทคนิคเฉพาะด้านในการทำเกษตรกร ขาดแหล่งทุนงบประมาณและแรงงานในการดำเนินกิจกรรมขยายผลทางการเกษตร และยังขาดการวางแผนในการผลิตที่ติดพันกับการปรุงแต่ง แปรรูป เชื่อมโยงสู่การตลาดได้ สำหรับแนวทางการพัฒนาพบว่า ควรเพิ่มการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรต้นแบบในกานวางแผน และบริหารจัดการผลิตทางการเกษตร รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งในการทำงานของพนักงานอย่างมีคุณภาพ และยกระดับศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้วให้เป็นศูนย์สาธิตที่ครบวงจร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณิชาภัทร ดุลยกุล. (2564). แนวทางการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบของศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ดลมนัส กาเจ. (2558). เบิ่งลาวไปศูนย์ห้วยซอน-ห้วยชั้วชมโครงการ 21 ปีแห่งความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/210800

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพ: พริ้นต์โพร.

ภีมภณ มณีธร. (2566). ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มเกษตรกรท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 15(1), 61-75.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว. (2565). ข้อมูลตัวเลขกลุ่มสมาชิกเกษตรกรของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว 1 กันยายน 2565. นครหลวงเวียงจันทน์: ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2542). แนวคิดและทฤษฎี การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2555). แนวคิดและทฤษฎีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สำนักมาตรฐานการศึกษา. (2545). ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชุดวิชาการวิจัยชุมชน. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.

สุภางค์ จันทวานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุลม ตุนาลม. (2558). ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยชวน-ห้วยชั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

Likert, R. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychology, 25(140), 1-55.