การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุนันทา จุนละมณี
กอบลาภ อารีศรีสม
วีณา นิลวงค์
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์
ภาวิณี อารีศรีสม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพและรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยและประกอบอาชีพในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย จำนวน 289 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอุทยานแห่งชาติน้ำแอดภูเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมทุกด้านระดับมาก และรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประกอบด้วย 7 ด้าน 1. ลักษณะทางกายภาพ 2. การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3. เศรษฐกิจและสังคม 4. ศิลปวัฒนธรรม 5. ธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติ 6. ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และ 7. การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า มีค่า Sig.F เท่ากับ 0.000 เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระ พบว่ามีตัวแปรที่มีผลทางบวก คือ อายุ การศึกษา รายได้ และศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ซึ่งตัวแปรอิสระทั้งหมด 8 ตัวแปรสามารถพยากรณ์ 81. 87 (R2=0.8187) 3) ปัญหา อุปสรรค คือ เส้นทางคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก และปริมาณน้ำที่ใช้ไม่เพียงพอต่อการใช้ในชุมชนละแวกอุทยานแห่งชาติ ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงชี้ให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประกอบด้วย 1) การรักษาและส่วนร่วมของชุมชน 2) การพัฒนาทรัพยากรระบบนิเวศ 3) การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยว 4) การส่งเสริมการศึกษาและการอบรม 5) การตลาดและการโฆษณา 6) การปรับปรุงระบบขนส่ง 7) การสนับสนุนการเรียนรู้และความร่วมมือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ข่าวเศรษฐกิจสังคม. (2565). ข่าวเศรษฐกิจและสังคม สปป. ลาว. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566. จาก http://www.sethakit-psx.la/detail10533.html

เทพรัตน์ จันทพันธ์ และวิวัฒน์ ฤทธิมา. (2556). การท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 (น.71-78). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตย์.

สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์. (2565). โอกาสการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ สปป. ลาว จากภาคการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566. จาก https://vientiane.thaiembassy.org/th/

Duckworth, J.W., Salter, R.E. and Khounboline, K. (1999). Wildlife in Lao PDR: 1999 Status Report. The World Conservation Union (IUCN), Wildlife Conservation Society (WCS) and Centre for Protected Areas and Watershed Management (CPAWM), Vientiane, Lao PDR.

Fennell, J. (1999). Contemporary Urban Planning. New Jersey: Prentice-Hall.

Johnson, A. (2012). A Landscape Summary for the Nam Et-Phou Louey National Protected Area, Lao PDR. Pages 73-90 in T. C. H. Sunderland, J. Sayer, and H. Minh-Ha, editors. Evidence-based conservation: lessons from the lower Mekong. Earthscan, London.

Ling, S. (1999). A biological system of prioritization for protected areas in the Lao PDR. CPAWM / Wildlife Conservation Society Cooperative Program, Department of Forestry, Ministry of Agriculture and Forestry, Vientiane, Lao PDR.

Nam Et-Phou Louey National Protected Area and Wildlife Conservation Society Laos. (2018). Ecotourism In Nam Et-Phou Louey National Protected Area, Lao PDR.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 2nded. New York: Harper & Row.