ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ในระบบเกษตรพันธสัญญา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชัยอนันต์ ลิ้มพัฒนมงคล
พหล ศักดิ์คะทัศน์
นคเรศ รังควัต
กอบลาภ อารีศรีสม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มเกษตรกร จำนวน 169 คน ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอพร้าว การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ


ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาระดับการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกร มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธของเกษตรกร เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีผลทางบวก 5 ตัวแปรได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ จำนวนแรงงานในการทำเกษตร และช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ระดับการศึกษา และเงินทุนที่ใช้ในการทำการเกษตร มีความสัมพันธ์ทางสถิติในเชิงลบ มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งตัวแปรอิสระทั้งหมด 14 ตัวแปรสามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม คือ การเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในระบบเกษตรพันธของเกษตรกร ร้อยละ 52.7 (R2 = 0.527) 3) ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกร 1. ด้านผลตอบแทน เกษตรกรมองว่าราคารับซื้อผลผลิตจากบริษัทมุ่งเน้นการผลิตให้ได้ปริมาณมากกว่าคุณภาพ 2. ด้านการยอมรับของสังคม จำนวนเจ้าหน้าที่ของบริษัทไม่พอเพียงที่จะเข้าไปดูแล 3. ด้านความน่าเชื่อถือ เกษตรกรมีความเข้าใจและคลาดเคลื่อนเกณฑ์คุณภาพของเมล็ดพันธุ์และมีอคติต่อบริษัท และ 4. ด้านสิ่งแวดล้อม เกษตรมองว่าการใช้สารเคมีมีค่าใช้จ่ายสูงและผลกระทบสภาพแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม และคณะ. (2552). เกษตรพันธสัญญา: ผลตอบแทนความเสี่ยงและความเป็นธรรม. กรุงเทพฯ: ซีเวิลด์กราฟิก.

เกษตรอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. (2563). ทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561/2562. เชียงใหม่: เกษตรอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่.

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. (2556). บ่วงบาศพิฆาตเกษตรกร โศกนาฏิกรรมเกษตรพันธิสัญญา. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำากัดภาพพิมพ์.

ธีราพร ทองปัญญา. (2561). กระบวนการและเงื่อนไขในการตัดสินใจเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญาของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่, 10(1), 254-277.

วัชราภรณ์ วงศ์คำปวน. (2559). รายงานสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตร.

สมพร อิศวิลานนท์. (2560). อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทย: สถานภาพและความท้าทาย. อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร (รายงานวิจัย). ชุมพร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2562). การควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ. (2558). การเกษตรแบบพันธสัญญา: ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อของไทย. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 1(3), 4-19.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2553). พื้นที่ความรู้และกลไกเชิงซ้อนในจินตนาการใหม่ของสังคมเปลี่ยนผ่าน. ใน จินตนาการใหม่ทางสังคมวิทยา เพื่อรับมือกับความเสี่ยงทางสังคมชนิดใหม่. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณะกรรมการ สภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์: กรุงเทพฯ.

Mouly, George J. (1973). Psychology for effective teaching. Holt Rinehart and Winston: USA

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. S.l.: Harper International.