หลักคิดการทำเกษตรอินทรีย์เชิงพุทธของชาวเกษตรกรในพื้นที่เทศบาลตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักคิดการทำเกษตรอินทรีย์เชิงพุทธของเกษตรกรชาวตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 35 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิธีพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า หลักแนวคิดการทำเกษตรเชิงพุทธของชุมชนเกิดจากความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยเกษตรกรยึดมั่นในหลักของความเกื้อกูล เอื้อเฟื้อต่อกัน และความถูกต้องดีงาม และพึ่งพาตนเอง ซึ่งหลักธรรมประกอบการทำเกษตรอินทรีย์และการดำเนินชีวิต โดยมีหลักธรรมสัมมาอาชีวะ สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 และศีล 5 ในการทำเกษตรอินทรีย์
Article Details
References
ประเวศ วะสี. (2530). การสร้างภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ
พีรชัย กุลชัย และปัญญา หมั่นเก็บ. (2548). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรรายย่อยภูมินิเวศน์ฉะเชิงเทรา. นนทบุรี: มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน.
ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ และคณะ. (2547). รูปแบบและเทคนิคเกษตรยั่งยืน: องค์ความรู้และประสบการณ์ของเกษตรกรในพื้นที่โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดี.
พระณัฏฐนันท์เดช สีลเตโช (2563). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ: รูปแบบการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของวิถีเกษตรอินทรีย์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 8 (5),1749-1763
พระเทพรัตนมุนี (สายพงศ์ อโนมปญฺโญ). (2556). “การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน”.ดุษฎีนิพธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาวัฒนา ปญฺาทีโป (คำเคน). (2562). รูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมสมัยใหม่ตามแนวเกษตรเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 11 (1),105-116
วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2550). ชุมชนท้องถิ่นพัฒนากับการเกษตรแบบยั่งยืน. บทความเนื่องในโอกาสครบ 20 ปีมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.