ความคาดหวังของภาคประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวังเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของภาคประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวังเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบความคาดหวังของภาคประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
ความคาดหวังของภาคประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวังเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจะเรียบเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริการ ด้านการกำจัดขยะและด้านการจัดเก็บขยะ
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบวา ผู้รับบริการที่มีคุณลักษณะด้านอาชีพต่างกัน มีความคาดหวังของภาคประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลแม่โป่ง แตกตางกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้รับบริการที่มีคุณลักษณะด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ต่างกัน มีความคาดหวังของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลแม่โป่ง พบว่า ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2548). แผนยุทธศาสตร์กรมควบคุ้มมลพิษ พ.ศ. 2548 – 2552 กองแผนงานและประเมินผล 2548
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2536). การให้บริการแบบครบวงจรแนวทางการให้บริการเชิงรุกของกรมการปกครอง. เทศบาล 88, 30, 11 -14.
เทพศักดิ์ บุญรัตพันธ. (2536). ปัจจัยที่สิ่งผลตอการสรางประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการพัฒนา), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
สำนักนโยบายและแผน กรุงเทพมหานคร. (2538). ความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบและกระบวนการให้บริการของกรุงเทพมหานครศึกษากรณีสำนักงานเขต. (รายงานฉบับสมบูรณ์) โดยคณะพัฒนาสังคมร่วมกับสมาคมพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.