ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารของคณะผู้บริหารเทศบาลเมือง แม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อภิรมย์ สีดาคำ
นพดณ ปัญญาวีรทัต
วินิจ ผาเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารของคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารของคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนะต่อการบริหารคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่เหียะ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่เหียะเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารของคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารของคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สีดาคำ อ., ปัญญาวีรทัต น., & ผาเจริญ ว. (2020). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารของคณะผู้บริหารเทศบาลเมือง แม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 1(1), 8–19. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/294
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2543).กระทรวงมหาดไทยกับการกระจายอำนาจ. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดงกรมการปกครอง

ชไมพร วดีศิริศักดิ์. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อบทบาทตามนโยบายการพัฒนาของเทศบาลตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทศพล สุทธาวงศ์. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานองค์การบริหารตำบลกรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พิมพร มัคลา. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลที่ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาเทศบาลตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สกุลนา ทองพฤกษ์. (2552). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามแผนพัฒนาตำบลของเทศบาลตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ เอ็กซเปอร์เน็ท.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ .(2549). ภาวะผู้นำ ในประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติใน. การบริหารการศึกษา หน่วยที่ 5 หน้า 1-100 นนทบุรี.