ประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

Phar Arriyananda
อภิรมย์ สีดาคำ
เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่แขวงกาวิละ, เทศบาลตำบลหนองหอย, เทศบาลตำบลหนองผึ้ง, เทศบาลตำบลยางเนิ้ง และเทศบาลตำบลสารภี จำนวน 398 คน[1] เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้สำหรับทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยจำแนกตามลักษณะของ ตัวแปร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การทดสอบ ค่าที (t–test) และทดสอบค่าเอฟ (F–test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน                  2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ และที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่า กิ่งของต้นยางนาแห้งและร่วงหล่นบนถนน ทำให้เกิดความอันตรายต่อผู้สัญจรไป-มา รากของต้นยางนามุดเข้าใต้ถนนทำให้ถนนมีการนู้นเป็นคลื่น มักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนที่ไม่เพียงพอในการเยียวยารักษา และข้อเสนอแนะพบว่า ควรมีการสำรวจกิ่งของต้นยางนาอยู่เสมอ เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงและมั่นคงของต้นยางนามิให้ร่วงหล่น ควรควบคุมรากของต้นยางนาและทำถนนให้เกิดการนู้นเป็นคลื่นน้อยที่สุด และควรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ คอยติดตามผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากต้นยางนา และให้การเยียวยาช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
Arriyananda, P., สีดาคำ อ., & สุขเหลือง เ. (2023). ประสิทธิผลการบริหารจัดการต้นยางนาบนถนนสายเก่าเชียงใหม่-ลำพูน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 4(1), 53–66. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/1872
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ แสนคำลือ. (2558). ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระจอม จารุวณฺโณ (หงษ์ทอง). (2557). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระทองพจน์ ธีรธมฺโม (พรมราช). (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านอุทกภัยของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระธีระพงศ์ ธีรปญฺโญ (จันทนา). (2557). ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระใบฎีกาศราวุฒิ มหาลาโภ (หงษ์คํา). (2557). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตําบล ในเขตอําเภอคอนสวรรค จังหวัดชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระมหาศิริชัย สิรินฺทญาโณ (ศรีรัมย์). (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระวุฒิชัย มหาสทฺโท (เสียงใหญ่). (2556). การบริหารจัดการปัญหาลำน้ำคูไหวเน่าเสีย ของเทศบาลนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระอธิการโสภณ ปิยธมฺโม (กิ่งแก้ว). (2560). ประสิทธิผลการบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.