การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืน 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม7 กับการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ศึกษาความความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมและสภาพปัญหาอุปสรรค วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป จำนวน 392 คน การเปรียบเทียบความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนการเปรียบเทียบความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชน ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) เป็นค่าที่วัดความสัมพันธ์ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product - moment correlation coefficient) เพื่อทดสอบสมมติฐาน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการและการรับผลประโยชน์ และการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง 2) การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 กับการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การประชุมกันเนืองนิตย์, ให้เกียรติคุ้มครองสตรีและ เด็ก, ไม่บัญญัติหรือเลิกล้มข้อบัญญัติตามอำเภอใจ, การอารักขาความคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม, เคารพสักการะบูชาปูชนียสถาน, พร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุม, เคารพให้เกียรติและรับฟังความเห็นของผู้ใหญ่ อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีเพศและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กันกับความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้ง ส่วนอายุ อาชีพ และสถานภาพมีสัมพันธ์น้อยมากกับความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาบแก้ว ปัญญาไทย. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
กิตติชัย สินคง. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
ชัยโรจน ธนสันติ. (2545). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสภาตำบลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิต.
เทศบาลตำบลทาปลาดุก. ( 2564). แผนพัฒนาท้องถิ่นห้าปี (พ.ศ.2561-2565) แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลง (ครั้งที่ 2). (อัดสำเนา).
พระเพชรสมพร ญาณสมฺปนฺโน (สินชัย). (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา กรณีศึกษาเขตทวีวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 457-478.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.
สำราญ ไชยริปู. (2560). แนวทางการเตรียมความพร้อมของศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 59. (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร), 46.
อัจฉรี สิงโต. (2565). ภัยแล้งทางการเกษตรของไทย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566. จาก http://webapp.ldd.go.th/lpd/node_modules/Article_Lpd/Article_Lpd1_1.pdf