การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มสตรีในเทศบาลตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มสตรีในเทศบาลตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มสตรี 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มสตรี เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มสตรีในเทศบาลตำบลแม่ริม จำนวน 303 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน F-test การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มสตรีในเทศบาลตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มสตรี ทั้ง 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) หลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มสตรี ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีระดับความสัมพันธ์สูงมาก 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่าขาดความรู้ความเข้าใจในนโยบาย วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงาน ขาดการติดตามความรู้ใหม่ ๆ ในการดำเนินการของตน หรืองานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอแนะแนวทาง พบว่าควรส่งเสริมการติดต่อสื่อสารกับผู้ร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเกิดความมั่นใจในการทำงาน และควรส่งเสริมการไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด เช่น การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน การทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2550). เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กุลประภัสสร์ รำพึงจิตต์. (2563). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. Journal of Modern Learning Development. 5(4), 40-50.
เกษวดี เนื่องศรี. (2560). แนวทางการเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มสตรี ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
เกียรติศักดิ์ นิลมณี. (2559). องค์กรสตรี ในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
เทศบาลตำบลแม่ริม. (2564). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www.maerim.go.th
ปรียาพร สุบงกช. (2559). รูปแบบการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.
พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2551). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
หาญศึก ทรงสวัสดิ์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนเข้มแข็งกรณีศึกษาเทศบาลตําบลท่าข้าม อําเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.
Yamane,T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.