บทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

รังสิมันต์ ตุ้นด่าน
ไพวรรณ ปุริมาตร
เบญญาภา อัจฉฤกษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 354 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาล ตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.10 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย 3.19 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านสมรรถนะ ค่าเฉลี่ย 3.12 ด้านสถานการณ์ ค่าเฉลี่ย 3.11 ด้านสถานภาพ ค่าเฉลี่ย 3.09 ด้านความสำเร็จ ค่าเฉลี่ย 3.05 และด้านความรับผิดชอบ ค่าเฉลี่ย 3.04 อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

Article Details

How to Cite
ตุ้นด่าน ร., ปุริมาตร ไ., & อัจฉฤกษ์ เ. (2023). บทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 4(1), 15–27. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/1207
บท
บทความวิจัย

References

กนก วงษ์ตระหง่าน. (2558). การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรภัทร์ นามบุญเรือง. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ธีระวุฒิ ปัญญา. (2556). STRONG WOMEN STRONG HEART ผู้หญิงที่เกิดมาเพื่อเป็นยอดคน ยอดหญิงหัวใจเพชร. กรุงเทพฯ: แฮปปี้บุ๊ค.

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2564). อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564. จาก http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/win24.pdf

ประมวล นาตัน. (2557). บทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พระครูศรีปริยัตยารักษ์. (2563). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในพัฒนาการบริหารจัดการขององค์กรบริหารส่วนตำบล. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. 1(2), 94-95.

รัชดา ไชยคุปต์. (2564). รู้จักและเข้าใจความเสมอภาคทางเพศ. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564. จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/23302/

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 87. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564. จาก http://wiki.ocsc.go.th/

วินิจ ผาเจริญ, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล, สถาพร แสงสุโพธิ์, นนท์ น้าประทานสุข. (2565). บทบาทผู้นำชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์. 3(2), 1-12