บทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ญาณิศา กุเวรไตรย์
ณัฏฐกานต์ หงษ์กุลเศรษฐ์
สุริยะ มาธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 2) นำเสนอบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 369 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจําแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการช่วยพรรคการเมืองรณรงค์หาเสียง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการเข้าฟังการปราศรัยหาเสียงทางการเมือง ด้านการเลือกตั้ง และด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การประยุกต์หลักพุทธธรรมหลักสังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นเพื่อส่งเสริมบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความเสียสละ ทั้งแรงกาย แรงใจ สร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ที่มีวจีไพเราะ น่าเชื่อถือ มีความเป็นกันเองกับประชาชน กระทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม มีจิตอาสา และมีความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เลือกปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
กุเวรไตรย์ ญ., หงษ์กุลเศรษฐ์ ณ., & มาธรรม ส. (2023). บทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 4(1), 41–52. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/1205
บท
บทความวิจัย

References

กนก วงษ์ตระหง่าน. (2558). การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรภัทร์ นามบุญเรือง. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ธีระวุฒิ ปัญญา. (2556). STRONG WOMEN STRONG HEART ผู้หญิงที่เกิดมาเพื่อเป็นยอดคน ยอดหญิงหัวใจเพชร. กรุงเทพฯ: แฮปปี้บุ๊ค.

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2564). อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564. จาก http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/win24.pdf

ประมวล นาตัน. (2557). บทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พระครูศรีปริยัตยารักษ์. (2563). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในพัฒนาการบริหารจัดการขององค์กรบริหารส่วนตำบล. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. 1(2), 94-95.

รัชดา ไชยคุปต์. (2564). รู้จักและเข้าใจความเสมอภาคทางเพศ. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564. จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/23302/

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2564) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 87. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564. จาก http://wiki.ocsc.go.th/