พระพุทธศาสนากับการพัฒนาผู้นำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ที่เป็นยุคโลกไร้พรมแดนนี้ ปัญหาเกี่ยวกับผู้นำก็มักเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันอยู่เสมอ ผู้นำบริหารงานอย่างไม่มีเอกภาพ ผู้นำใช้อำนาจโดยมิชอบเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง และยึดหลักประโยชน์นิยมเป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความอยู่รอดขององค์กรหรือคนในสังคมส่วนใหญ่
สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งของประเทศไทย ควบคู่กันกับสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่มีหลักธรรมคำสอนที่สามารถทดสอบและพิสูจน์ได้ตามแนวแห่งวิทยาศาสตร์ มีหลักในการบริหารการพัฒนา ทั้งการพัฒนาตน การพัฒนาคน และการพัฒนางาน มีหลักธรรมในการปกครองตนเอง ปกครองหมู่คณะ ปกครองประเทศชาติหรือสังคมส่วนรวม เรียกว่า พุทธธรรม พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระศาสนาที่มีอยู่คู่กับสังคมไทยมาตลอด มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นหรือแนะนำให้เกิดกิจกรรมในสังคมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้มาก มีหน้าที่สำคัญในการชี้นำการดำเนินชีวิตของคนไทยเป็นส่วนใหญ่ในด้านศีลธรรม โดยใช้หลักพุทธธรรมในการกระตุ้นหรือพัฒนาผู้นำ ผู้นำองค์กรต่าง ๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้หลักพุทธธรรม และนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้ร่วมกันพัฒนาประเทศชาติให้มั่นคงถาวรอย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทินพันธ์ นาคะตะ. (2539). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
ทินพันธ์ นาคะตะ. (2544). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกการพิมพ์.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พระพุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้นและทางออกจากวิกฤติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี–สฤษดิ์วงศ์.
พินิจ ลาภธนานันท์. (2529). บทบาทพระสงฆ์ในงานพัฒนาชนบท. สถาบันวิจัยสังคม: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
เฟรด อี. ฟีดเลอร์, มาร์ติน เอ็ม เซเมอรส์ และ ลินดา มาฮาร์. (2531). ค้นหาความเป็นผู้นำ. เรียบเรียงโดย ชูชัยสมิทธิไกร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2540). หน้าที่พระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ: แนวคิดและบทบาทพระคำเขียน สุวณฺโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มนตรี พีรพลพิพัฒน์. (2540). จริยธรรมกับภาวะผู้นำ: ศึกษาทัศนะนักวิชาการรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งประเทศที่มีต่อผู้นำทางการเมือง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.