โยนิโสมนสิการ : วิถีแห่งปัญญาเพื่อการพัฒนาจิตต้านโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นั้น นับว่าเป็นวิกฤติของโลกครั้งใหญ่ที่กระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติ ทั้งเกิดภาวะทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก ปัญหาการว่างงาน การขาดรายได้ ประชาชนเกิดอาการป่วยทางจิตเวชเพิ่มมากขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20 จากปัญหาดังกล่าวนี้ ควรใช้หลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ควรนำไปใช้ในการพัฒนาจิต เป็นหลักวิถีแห่งปัญญา ที่มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์โดยใช้ปัญญาเป็นมูลฐาน ซึ่งการพัฒนาจิตเพื่อต้านโควิด-19 นั้น ควรใช้วิธีคิดใน 2 แบบ คือ 1. วิธีคิดแบบรู้ทันคุณโทษและทางออก คือพิจารณาถึงส่วนดี ส่วนเสีย และทางออก เช่น การที่รัฐกำหนดใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมใส่หน้ากากอนามัย และการหมั่นล้างมือนั้น ผู้ปฏิบัติตามหลักโยนิโสมนสิการควรพิจารณาถึงส่วนดี ว่าเมื่อปฏิบัติแล้วจะส่งผลดีอย่างไร และหากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลเสียอย่างไร และควรปฏิบัติอย่างไรที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด 2.วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน เป็นการฝึกคิดให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่าน ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ ฝึกใจยอมรับและปล่อยวางกับสถานการณ์ที่ตนเองควบคุมไม่ได้ จากแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตตามหลักโยนิโสมนสิการนี้ จึงเป็นวิธีการปฏิบัติตามวิถีแห่งปัญญา คือ “คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดด้านกุศล”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คำแนะนำการป้องกันควบคุมดรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สำหรับผู้เดินทางไป-กลับจากพื้นที่การระบาด” โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COV5D-19). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_ protection.php.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019” โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COV5D-19). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_ protection.php.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์ประเทศไทย” โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COV5D-19). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_ protection.php.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COV5D-19) (Combat 4 th Wave of COC5D-19 : C4). นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอวัน ปริ้นติ้ง.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COV5D-19) (Combat 4 th Wave of COC5D-19 : C4). สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/view.asp?id=23.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรบขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2553). วิธีฝึกสมาธิวิปัสสนา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
Unicef Thailand. (2553). รายงานของยูเอ็น ชี้ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563 , จาก https://www.unicef.org/thailand/th/.