การพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขาเพื่อสร้างสังคมเข้มแข็งอุดมปัญญา

Main Article Content

พระศรายุทธ วชิรปญฺโญ
ละเอียด จงกลนี
พระฮอนด้า วาทสทฺโท

บทคัดย่อ

การพัฒนามนุษย์ในทางพระพุทธศาสนาเป็นการพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขา เน้นการปฏิบัติฝึกหัดอบรมตนด้วยหลักของศีล สมาธิ และปัญญา คือ 1) การพัฒนาศีล เป็นวิธีการปฏิบัติฝึกหัดอบรมตนให้มีศีล คือ ให้ควบคุมตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัยทั้งทางกายและวาจา 2) การพัฒนาสมาธิ เป็นการฝึกหัดอบรมตนให้มีสมาธิ คือ การมีสติ มีจิตที่มุ่งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านต่อสิ่งเร้า ต่ออบายมุข และ 3) การพัฒนาปัญญา เป็นการฝึกหัดอบรมให้มีปัญญา ทำความเข้าใจปัญหา แก้ไขปัญหาจนเกิดความรู้แจ้ง เกิดการเรียนรู้ เกิดปัญญาขึ้นในตนเองมีมโนทัศน์ในเรื่องนั้นได้ถูกต้องตามที่เป็นจริง การพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขานี้ จึงเป็นการพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายวาจา ความคิด จิตใจ อารมณ์และปัญญา พร้อมที่ช่วยพัฒนาประเทศชาติให้สมบูรณ์ในรอบด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม จนนำไปสู่การเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้

Article Details

How to Cite
วชิรปญฺโญ พ., จงกลนี ล., & วาทสทฺโท พ. (2022). การพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขาเพื่อสร้างสังคมเข้มแข็งอุดมปัญญา. วารสารธรรมวัตร, 2(1), 23–30. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/635
บท
บทความวิชาการ

References

ธีระ นุชเปี่ยม. (2561). การพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญมี แท่นแก้ว. (2539). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). หัวใจพระพุทธศาสนา. พุทธจักร. 61(5), 7.

พระพุทธโฆษาจารย์. (2538). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระอุปติสสเถระ. (2548). วิมุตติมรรค. แปลโดย พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). การศึกษาสมบูรณ์แบบ : คือวงกลมที่คุ้มครองโลกถึงที่สุด. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.