แนวโน้มผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ต่อสถานการณ์ โรคระบาดโควิด 19 ในประเทศไทยในทศวรรษหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องแนวโน้มผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ต่อสถานการณ์โรคระบาดโควิด19
ในประเทศไทยในทศวรรษหน้ามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดCovid-19 และผลตอบแทนจากตลาดหลักทรัพย์ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยและชาวไทยได้รับผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านสังคม ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างรุนแรงช่วงหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการล็อคดาวน์ทำให้ผู้คนไม่สามารถเดินทางได้ทำให้ระบบการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ผู้ประกอบการขาดกระแสเงินสดจำเป็นจะต้องลดการจ้างงานหรือปิดกิจการชั่วคราวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาครัฐบาลต้องจ่ายเงินเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ส่งผลกระทบทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีแนวโน้มลดลง ถึงแม้ว่าจะยังมีบางกิจการที่สามารถเปิดทำงานได้แต่การค้าขายก็เป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งผลการศึกษายังพบว่ารัฐบาลจะต้องทำให้ระบบการเมืองเกิดเสถียรภาพ พัฒนาและสร้างนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมในการบริหารประเทศให้ชัดเจน สร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจและกล้าลงทุน พัฒนาระบบการศึกษาให้กับคนรุ่นใหม่ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและพัฒนาความสามารถในการหาเลี้ยงชีพหรือสร้างกระบวนการทางความคิดวิเคราะห์ที่เป็นระบบจนสามารถผลิตเทคโนโลยีขึ้นมาเองได้เพื่อนำมาต่อยอดประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รัฐบาลและภาคเอกชนจะต้องร่วมกันสนับสนุนการทำเกษตรแบบยั่งยืนรวมถึงการเพิ่มมูลค่าทางผลผลิตของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น รัฐบาลควรใช้ข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยมีไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบรางจนกลายเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมของอาเซียน สร้างแรงจูงใจให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนที่ประเทศไทยมากขึ้นเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสู้ประเทศไทย เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2563). สถิติอุตสาหกรรม ปี 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563, จาก https://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss63.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). กราฟราคาดัชนีย้อนหลัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563, จาก https://www.set.or.th/th/market/setindexchart2563.
ธนาคารโลก. ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP). (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม2563, จาก https://data.worldbank .org/country/thailand?locale=th
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จำแนกตามประเทศ/เขตเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563, จากhttps://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage .aspx?reportID=653&language=th
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). เงินสำรองระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=80&language=TH.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ธปท. ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.bot.or.th/covid19/Pages/default.aspx
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. (2563). Jitta เปิดสถิติ 13 ปี หุ้นไทยหลังโรคระบาดจะโตเฉลี่ย 19.8%.
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2563, จาก https://bit.ly/3ePyH60.
สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. (2563). นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2563, http://www.mtpie.com/menu-05.html.
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2563). สรุปการส่งออก/นำเข้า/ดุลการค้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563, http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=
TradeBalanceMonthly&Lang=Th.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ., กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค. (2563). ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 2020https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10212
&filename=QGDP_report
The World Bank, (2020). GDP growth, สืบค้นเมื่อวันที่30 june 2020 จากhttps://data.worldbank.org/indicator/ NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=TH
The World Bank. (2020). GDP growth Thailand. สืบค้นเมื่อวันที่30 june 2020 จากhttps://data.worldbank.org /indicator/ NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=TH
Wright, Arnold, Breakspear, Oliver T. (2020). Twentieth century impressions of Siam. สืบค้นเมื่อวันที่30 june 2020 จาก https://bit.ly/2Buhp0E.