การกลั่นแกล้งตามมุมมองพระพุทธศาสนา

Main Article Content

แม่ชีประครอง งามชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การกลั่นแกล้ง (Bullying) ตามมุมมองพระพุทธศาสนาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนพุทธกาล ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎก ชื่อ อัคคัญญสูตร โดยปัญหาที่มนุษย์บูลลี่กันครั้งแรกในโลก ได้แก่ เรื่องผิวพรรณ เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการกลั่นแกล้งยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ได้แก่ การกลั่นแกล้งทางร่างกาย ทางวาจา ทางสังคมหรือด้านอารมณ์ และบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) โดยพฤติกรรมทั้ง 4 ประเภท เมื่อนำมาวิเคราะห์กับหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สามารถจัดเข้าในหลักธรรม 2 ข้อ ดังนี้


1) อกุศลมูล 3 เพราะการกลั่นแกล้งผู้อื่น ตามแนวทางพระพุทธศาสนาอธิบายว่าเกิดจากสภาพจิตใจของผู้กระทำมีอกุศลมูล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ โดยจะเป็นกิเลสชนิดใดนั้น ต้องพิจารณาเรื่องที่กลั่นแกล้งเป็นกรณีๆ ไป 2) อกุศลกรรมบถ 10  (ทางแห่งการทำกรรมชั่ว) เพราะพฤติกรรมการกลั่นแกล้งสามารถจัดเข้าได้กับการทำกรรมชั่ว 10 ประการ โดยแบ่งเป็น 3 หมวด คือ 2.1) การประพฤติชั่วทางกาย มี 3 อย่าง เช่น การตบตี การขู่เอาทรัพย์สิน และการคุกคามทางเพศ 2.2) การประพฤติชั่วทางวาจา มี 4 อย่าง เช่น การโกหก การด่า พูดใส่ร้าย ล้อเลียน 2.3) การประพฤติชั่วทางใจ มี 3 อย่าง เช่น โลภอยากได้ของผู้อื่น การปองร้าย และเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม โดยการประพฤติชั่วทางใจแม้จะยังไม่ได้ลงมือกระทำ แต่เมื่อมีสะสมภายในจิตมากขึ้นก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางกายและทางวาจาต่อไป แนวทางการรับมือกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งตามแนวทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ต้องมีสติ อดทนตอบโต้ด้วยการชี้แจงให้ถูกจังหวะ ไม่เครียดหรือวิตกกังวลเกินไป รวมถึงเลือกที่จะใช้ชีวิตในสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี

Article Details

How to Cite
งามชัยภูมิ แ. (2020). การกลั่นแกล้งตามมุมมองพระพุทธศาสนา. วารสารธรรมวัตร, 1(2), 31–43. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/630
บท
บทความวิชาการ

References

เกษม กสิโอฬาร และ พัชรี ตันติวิภาวิน. (2560). พุทธธรรมพัฒนาจิตเพื่อระงับความโกรธ. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 3(1-2), 31.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). กรมสุขภาพจิต' เผยกลั่นแกล้ง-รังแก (BULLYING) ในโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น.สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://www. bangkokbiznews.com/news/detail/859102

โกวิทย์ นพพร. (2563). รับมืออย่างไรในสังคม Bully. สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://www.samitivej-hospitals.com/th/รับมือ-bully/.

เดลินิวส์. (2563). กรมสุขภาพจิตชี้ เด็กถูกบูลลี่เสี่ยงเป็นอาชญากร. สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://www.dailynews.co.th/regional/747948.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2533). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิยุวพัฒน์. (2563). การกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงในสังคม. สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/การกลั่นแกล้ง-bullying-วัยรุ่น/.

สำนักราชบัณฑิตยสถาน. (2563). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://dictionary.apps.royin.go.th/.

BookPlus. Why Bullying? ทำไมถึงต้องกลั่นแกล้ง อะไรคือสาเหตุของพฤติกรรมรุนแรงเหล่านี้?.สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://bookplus.co.th/why-bullying-ทำไมถึงต้องกลั่นแกล้ง/.

Nature Biotec. ผลกระทบของการ Bully และแนวทางป้องกัน. สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://www.naturebiotec.com/bully-and-protect20202114/.