ชีวิตหลังความตาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชีวิตหลังความตายในมุมมองของพระพุทธศาสนาเป็นการสะท้อนความเชื่อของคนที่มักไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต และความตาย เป็นเหตุทำให้ไม่สามารถกำหนดท่าที และการกระทำที่ถูกต้องในเรื่องที่สำคัญนี้ได้ ทั้งนี้แนวทางที่จะช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายได้นั้นจะต้องให้ความสำคัญกับการรู้จักตนเองของมนุษย์ตั้งแต่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นคุณค่าของการดำรงอยู่ของ ขันธ์ 5 ที่เป็นองค์ประกอบใหญ่ของชีวิต คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเหตุที่ชีวิตเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดำเนินไปได้ เพราะอาศัยการประกอบของขันธ์ 5 สำหรับการทำให้เข้าใจชีวิตและนำไปสู่ความสามารถในการกำหนดท่าทีและการกระทำที่ถูกต้องตามธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ได้นั้นต้องนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติตนให้ปราศจากกิเลสได้อย่างถูกต้อง
Article Details
How to Cite
ฤทธิร่วม ช., บุญนุ่น ก., & เทียนจันทึก ส. (2020). ชีวิตหลังความตาย. วารสารธรรมวัตร, 1(2), 23–30. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/629
บท
บทความวิชาการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชาย โพธิสิตา. (2563). ชีวิตและความตายในทัศนะของพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2563. จาก www.nongerun.th.
พุทธทาสภิกขุ. (2548). เรื่องกรรม ในมุมมองของพุทธทาส. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต). (2563). หลักกรรมสำหรับคนสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ [6 กรกฎาคม 2563, จาก htttp://www.openbased. in.th/files/53_0.pdf
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวีโร). (2545). กรรมทีปนี. (พิมพ์ครั้งที่ 2.) กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2547). พระพุทธศาสนากับความตาย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.