สวนเกษตรแปลงผักหน้าหอนิสิต: พุทธบูรณาการทางสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาว่าด้วยการกิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดรหัสองค์ความรู้ผ่านสวนเกษตรแปลงผักหน้าหอ ผ่านแนวคิดพุทธบูรณาการทางสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาว่าด้วยการกิน ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย
การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ผลการการศึกษาที่พบ การปลูกผักเป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นโดยมีฐานของการศึกษาเพื่อการวิจัย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นส่วนผสมของการผลิตอาหารเพื่อการบริโภค การสร้างการเรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดในเรื่องความเป็นไปได้ ทั้งในส่วนของหลักการทางพระพุทธศาสนาที่บูรณาการเข้ากับการทำงานทั้งในส่วนของการประหยัด ออม ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริงที่เรียกวา “ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ” ทำให้เกิดกระบวนการโดยมีเป้าหมายเป็นการเชื่อมโยงศาสตร์ของความรู้แบ่งปันเป็นน้ำใจ แบ่งเป็นประสบการณ์และมิตรภาพ สะท้อนวิถีทางสังคมของมนุษย์ที่ว่าด้วยการกิน และมานุษยวิทยา ว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ดังปรากฏที่แปลงผักหน้าหอนิสิตด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุณี วรรณศิริกุล. (2559). เรื่องเล่าประวัติศาสตร์...บนเส้นทางอาหาร. นิเทศสยามปริทรรศน์, 15(19) ,2559.
ตา ทอม สแตนเดจ. (2554). ประวัติศาสตร์กินได้ . โตมร ศุขปรีชา แปล. กรุงเทพฯ: โอเพิ่นเวิลส์.
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค : อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5 (2), 55-264.
ปณิดาภา สวนแก้ว. (2557). ความสำเร็จของนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน. วารสารวินัย มสด สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 11(1), 47-58.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมะอินเทรนด์.
Joginder, S. (2014). Namdhari Sikhs of Punjab: Historical Profile. Journal of Punjab Studies, 21(2), 267-296.
Shawn, A. (2009). Eating Your Way to Immortality: Early Daoist Self-Cultivation Diets. The Journal of Daoist Studies, 2, 32-63.