การจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคีเครือข่ายในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ปิยวัช ละคร

บทคัดย่อ

การจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคีเครือข่ายในอำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดระบบนิเวศของภาคีเครือข่ายชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์  เพื่อพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กับการเสริมสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณ  การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง


ผลการศึกษาพบว่า การจัดระบบนิเวศแบบพหุภาคีเครือข่ายของชุมชนในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง ด้านน้ำ ด้านดิน ด้านเกษตรอินทรีย์  ด้านการจัดการขยะ โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน มีแนวคิดจะพัฒนาลำน้ำ โดยขุดเป็นบ่อน้ำในลำห้วย เป็นขั้นบันไดทอดลงไปสู่ด้านล่าง และธนาคารน้ำใต้ดิน  เพื่อเพิ่มระดับน้ำบาดาล  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การทำเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น การจัดการดินเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันเช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ย การทำเกษตรอินทรีย์ไว้บริโภคในครัวเรือนบ้าง ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืชแทน  และการจัดการขยะชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ  มีการคัดแยก ณ แหล่งกำเนิดและแยกประเภทเก็บ โดยการจัดถังแยกประเภทเพื่อให้ประชาชนแยกประเภทขยะ โดยแยกออกเป็นขยะรีไซเคิล ขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ และขยะอันตรายก็ตาม การดำเนินการสร้างวินัยในการจัดการขยะ จึงจัดทำโครงการชุมชนปลอดขยะ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานด้านการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร


การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กับการเสริมสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ ในอำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์  ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีกิจกรรม พัฒนาที่ให้ความสมดุลการระบบนิเวศ เช่นกิจกรรมปลูกป่าต้นน้ำทางฝั่งซ้ายของน้ำป่าสัก  คลองชลประทานสำหรับส่งน้ำเพื่อการเกษตร ปลูกพืชเสริมแร่ธาตุให้กับดิน ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษมากขึ้น  และรณรงค์ให้ชุมชนคัดแยกขยะก่อนทิ้งด้วย และกิจกรรมธนาคารขยะให้เหมาะกับชุมชน

Article Details

How to Cite
ละคร ป. . . (2022). การจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคีเครือข่ายในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารธรรมวัตร, 3(1), 59–67. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/610
บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). คุณลักษณะและวิธีวิทยางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสุนนการวิจัย

เกศสุดา สิทธิสันติกุล. (2552). ชาวบ้านวิจัย รากฐานใหม่ของสังคม คุณค่า พลังและความสุข. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ชัยวัฒน์ ปัญจิต. (2563). ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง. สัมภาษณ์. 31 พฤษภาคม.

ธีรวุฒิ ราชแก้ว. (2563). ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิบุญ. สัมภาษณ์, 8 พฤษภาคม.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2558). แผนปฏิบัติการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบูรณ์.

ไสว คำพุฒ. (2563). นกยกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างตะลูด. สัมภาษณ์, 5 พฤษภาคม.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน: พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.