พระพุทธศาสนากับภาวะวิกฤตโรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 8 แสนคนในขณะนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างตื่นตัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมีผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคม การดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นวงกว้าง ในอดีตก็มีโรคติดต่อร้ายแรงต่าง ๆ เคยระบาดและทำลายชีวิตไปหลายล้านคน รวมถึงประเทศไทยด้วย จากการศึกษาพระไตรปิฎกพบว่า สมัยพุทธกาลก็ประสบกับวิกฤตโรคระบาดเช่นกัน ดังกรณีของเมืองเวสาลี รวมทั้งในพระวินัยพระพุทธองค์ทรงบัญญัติห้ามการบรรพชาแก่ผู้ที่เป็นโรคระบาดร้ายแรง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ พุทธวิถีมีความแตกต่างจากวิถีโลกตะวันตกที่เน้นพิชิตโรคให้ได้ ในขณะที่พุทธปัญญาเน้นวิถีแห่งการรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต มีโลกทัศน์ต่อภาวะการเจ็บป่วยว่าเป็นสิ่งธรรมดาของสรรพชีวิต การแก้ปัญหาแบบพุทธวิถีมีวิธีการหลากหลาย ในที่นี้ ใช้กระบวนการของอริยสัจสี่ คือ ทำความเข้าใจถึงตัวปัญหา(โรค) และสาเหตุที่มา(สมุทัย) กำหนดเป้าหมาย (นิโรธ) หาวิธีการและลงมือแก้ปัญหาตามวิธีการที่วางไว้ (มรรค) นอกจากมีวิธีแก้ปัญหา(โรค) โดยตรงแล้ว ยังเสนอวิธีป้องกันโรคนั้นๆ ตามยุทธศาสตร์ 5 อ. 1 ศ. อีกด้วย 5 อ. คือ 1) อนามัย เช่น ล้างมือ กินร้อนช้อนตนเอง เว้นระยะห่างในสังฆกรรม 2) อากาศ อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ 3) ออกกำลังกาย 4) อาหาร ที่เป็นประโยชน์ 5) อารมณ์ และ 1 ศ. คือ ปฏิบัติศีล ฟังธรรม สวดมนต์ เจริญสมาธิ ฝึกสติ มีเมตตาเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยจรรโลงโลก เป็นมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และรอดพ้นวิกฤตโรค ทั้งทางกายและใจ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ป.หลงสมบุญ. (2548). พจนานุกรมบาลี-ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรรณวิภา บรรณเกียรติ. (2548). ช่วยได้อย่างไรเมื่อจิตใจตื่นตระหนก. มศว.ชุมชน, ปีที่ 2 (4) 3, 8.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2558). คู่มือประโยค 1-2 อรรถกถาธรรมบท ภาค 1 แปลโดยอรรถ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Microorganism. บทที่ 7 การกำจัดและการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563, จากhttp://microorganism-cowboy2007.blogspot.com/2010/06/blog-post.ascstu.html.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://dictionary.apps.royin.go.th/index.php.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 221 วันที่ 11 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ12 สิงหาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/file/situation/situation-no221-110863n.pdf.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค.(2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 221 วันที่ 10 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/ viralpneumoni a/file/situation/situation-no221-110863n.pdf.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 221 วันที่ 11 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://dd.moph.go.th /viralpneumonia/file/situation/situation-no221-110863n.pdf. [12 สิงหาคม 2563].
สมบัติ ประจญศานต์.(2563). รายงานวิจัยการกำหนดพื้นที่สังฆกรรมตามพุทธบัญญัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://architservice.kku.ac.th/wp-content/uploads/2017/06/009-สมบัติ-ประจญศานต์.pdf.