บทบาทการนำองค์กรของโรงเรียนนายเรือตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง บทบาทการนำองค์กรของร.ร.นายเรือ ตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นการศึกษาแนวคิดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานฯ ของ โรงเรียนนายเรือเฉพาะ หมวดที่ 1.การนำองค์กร
ผลการศึกษาดังกล่าว ฯ สามารถนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาฯ โรงเรียนนายเรือให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนเพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานของ โรงเรียนนายเรือให้สู่ความเป็นเลิศและยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงาน ฯ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ที่มุ่งเน้นให้การบริหารราชการเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยผลการศึกษาพบว่า การกำหนด วิสัยทัศน์ ควรมีการกำหนดความหมายทิศทางและระยะเวลาที่ชัดเจน มีความเป็นรูปธรรม ประการที่สอง การกำหนด ค่านิยมของโรงเรียนนายเรือ ควรกำหนดการดำเนินงานให้เป็นแนวทางเดียวกันอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ประการที่สาม การสร้างบรรยากาศองค์กรที่ดี ผู้นำ โรงเรียนจะต้องมีการบริหารจัดการกิจกรรมการต่างๆ ในการส่งเสริมกระตุ้นจูงใจให้บุคลากรของ โรงเรียนนายเรือได้เข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อน ติดตามกำกับดูแลองค์การเพื่อสร้างความเข้มแข็งที่ยั่งยืนให้กับองค์กร และประการสุดท้าย การส่งเสริมบทบาทในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม รร.นร.ควรมีการดำเนินการบนพื้นฐานของศักยภาพขององค์กร โดยมีการกำหนดกรอบทิศทางที่ชัดเจนไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของ โรงเรียนนายเรือดังกล่าว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองเทพ เคลือบพณิชยกุล. (2546). การปฏิรูประบบราชการไทย เพื่อก้าวเข้าสู่ราชการยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร
กุลวัชร หงส์คู. (2553). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการจัดการจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลนคร สมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โกวิทย์ นาเมืองรักษ์. (2553). การประเมินการจัดการภาครัฐแนวใหม่ของเทศบาลตําบลกําแพง อําเภอละงู จังหวัดสตูล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2555). การบริหารราชการไทย. เชียงใหม่ : คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นินุช บุณยฤทธานนท์. (2551). ผลลัพธ์การนำแนวคิดการจดัการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการปฏิรูประบบราชกาของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิวัฒน์ สุพัฒนจันทร์. (2555). การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการการจัดการเทศบาลตามการจัดการภาครัฐแนวใหม่: กรณีศึกษาเทศบาลตําบลบ้านฉาง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2551). การปฏิรูปการจัดการภาครัฐ: กรณีศึกษาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ในประเทศไทย และสิงคโปร.์ วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พาวดี เมฆสวรรค์. (2540). การปฏิรูปภาคราชการสู่สภาพที่พึงปรารถนา: ทำอย่างไร ใครรับผิดชอบ. วารสารข้าราชการ, 42 (2).
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
วรมิตร เพ็ชรสิงห์. (2551). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติตามการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตําบลใน ทัศนคติของพนักงานส่วนตําบลในอําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.