การพัฒนาศักยภาพของการออมและการประกอบอาชีพของผู้สูงวัย เพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการออมและการประกอบอาชีพของผู้สูงวัยเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาคเหนือตอนบน 2.เพื่อศึกษาศักยภาพการออมและการประกอบอาชีพของผู้สูงวัยเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาคเหนือตอนบน 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพการออมและการประกอบ
อาชีพของผู้สูงวัยในภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์ ได้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องข้องในท้องถิ่นประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งหมด 14 รูป/คนและกลุ่ม
ตัวอย่างในการทำกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการได้แก่ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร และโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลนาน้อยแห่งละ 50 คนรวมทั้งหมด 100 คน ผลการวิจัย พบว่า


1. ผลการศึกษาสภาพทั่วไปของการออมและการประกอบอาชีพของผู้สูงวัยเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาคเหนือตอนบน พบว่า สภาพทั่วไปของการออมและการประกอบอาชีพของผู้สูงวัยเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาคเหนือตอนบน สภาพการออม ได้รับการดูแลจากภาครัฐบาล รัฐบาลมีช่องทางในการส่งเสริมการออม คือ กองทุนการออมแห่งชาติหลักประกันเพื่อคนวัยเกษียณ กองทุนการออมแห่งชาติ 2558 ประชาชนทั่วไปและผู้เกษียณจำนวนมากยังไม่ได้รับข้อมูลนี้และยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนออมแห่งชาติจำนวนมาก ภาครัฐต้องทำการประชาสัมพันธ์ ส่วนการประกอบอาชีพของผู้สูงวัยเนื่องจากประเทศ
ไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงวัยที่มากและเคลื่อนเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” มีผู้สูงวัยจำนวนมากต้องการประกอบอาชีพเป็นบางเวลา และเต็มเวลาต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนอาชีพและเงินทุนประกอบการ


2. ผลการศึกษาศักยภาพการออมและการประกอบอาชีพของผู้สูงวัยเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาคเหนือตอนบน พบว่า ในพื้นที่จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน โรงเรียนผู้สูงอายุมีบทบาทการส่งเสริมผู้สูงวัยในการออมและการพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงวัยโดยส่งเสริมอาชีพที่ไม่ต้องใช้แรงงานมากสามารถทำที่บ้านได้ เช่น ฝึกทำขนมพื้นบ้าน ข้าวแตน ข้าวแคบ การจักสาน การจัดตุง การทำดอกไม้ การทำดอกไม้จากผ้าและ กระดาษ การทำตุงกระดาษ จังหวัดน่านอาชีพที่ส่งเสริม ได้แก่การจักสาน การทอผ้า การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำอาหารและขนมพื้นบ้าน เป็นอาชีพพื้นฐาน ของชุมชน ยังไม่สามารถนำไปต่อยอดทำเป็นอาชีพอย่างยั่งยืนได้ มีโรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีผู้สูงอายุสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้เพียง 1 รายเท่านั้น คือนางบัวจันทร์ สุจริต อายุ 72 ปี การทำขนมพื้นบ้าน ข้าวแต๋นและข้าวแคบ ข้าวพัน (ทางเหนือเรียกข้าวปัน) พื้นที่จังหวัดน่านไม่สามารถต่อยอดอาชีพได้ มีการส่งเสริมการออมเป็นกลุ่มและรายบุคคลผ่านธนาคารหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุไม่มีรายได้และรายได้ต่ำมากไม่คงที่ไม่เพียงพอต่อการออม นักเรียนผู้สูงอายุไปโรงเรียน เพราะมีความสุขที่ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆได้พัฒนาการ กาย ใจอารมณ์และสังคมรวมถึงการได้พบผู้สูงวัยกลุ่มเดียวกันไม่เหงา


3. ผลการพัฒนาศักยภาพการออมและการประกอบอาชีพของผู้อายุ จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน พบว่า ชุมชนมีอาชีพดั่งเดิมคือทำการเกษตรกรรมทำนา ทำไร่เป็นหลักมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง อาชีพที่นำไปพัฒนา คือ การผลิตโคมล้านนาและทำดอกไม้จันทน์ ทั้งสองพื้นที่ได้รับการต่อยอดเพื่อเป็นอาชีพต่อไปจากผู้บริหารท้องถิ่น ทำเป็นโครงการบรรจุในแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2562 ข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงวัย คือ อยู่ในช่วงวัยที่ถดถอย ร่างกายไม่แข็งแรง การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ค่อยประสานกันการเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นอุปสรรคด้านการพัฒนาศักยภาพ เหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพและการออมในผู้สูงอายุ


 


 

Article Details

How to Cite
เกตุวีระพงศ์ พ. (2020). การพัฒนาศักยภาพของการออมและการประกอบอาชีพของผู้สูงวัย เพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนในภาคเหนือตอนบน. วารสารธรรมวัตร, 1(1), 39–48. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/590
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2543). สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิชย์.

ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2543). การตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ : ศึกษากรณีตัวอย่างการ จัดตั้งศูนย์การทางสังคม ของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ. วิทยาลัยประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นางสาวชมพูนุช พรหมศักดิ์. (2556). บทสรุปผู้บริหาร บทความวิชาการการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานงานเลขาธิการวุฒิสภา.