การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

พระครูฉันทเจติยานุกิจ ทรงศักดิ์ นุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชนในจังหวัดน่าน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดน่าน และ เพื่อศึกษาองค์ความรู้การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดน่าน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นผู้นำชุมชน บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในชุมชน บุคลกรทางการสถาบันการศึกษา สถาบันทางศาสนา กลุ่มผู้ค้าขายในชุมชน และ บุคลากรของหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จำนวน 120 รูป/คนโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ในเชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การประชุมกลุ่มย่อย 


ผลการศึกษาพบว่า การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน มีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชน 3 ด้านคือด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมมีหลักการและเหตุผลรวมถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน ที่น้อมนำเอา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในชุมชนเป็นแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและพัฒนาให้เป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอย่างยั่งยืน การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และการส่งเสริมด้านการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน สภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนตกอยู่ในภาวะเดือดร้อนมีหนี้สิน ร่วมไปถึงกลุ่มวัยรุ่นในชุมชนมีมากขึ้นทำการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดลดน้อยลงการยอมรับทั้งในแง่ของกรอบความคิดและการปฏิบัติ ของประชาชนเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นจะต้องมีการยอมรับและสร้างความเข้าใจกันทั้งพื้นที่ รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ การรับรู้ไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องมีการใช้เทคนิคในการจัดการความรู้ทั้งความรู้ที่เห็นได้ชัดและความรู้ที่แฝง เพื่อนำความรู้จากคนรุ่นหลังถ่ายทอดเป็นกระบวนการการเรียนรู้และกระบวนการจัดการความรู้ควบคู่ไปด้วยกันเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านที่น้อมนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ทรงศักดิ์ นุวรรณ์ พ. . (2020). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารธรรมวัตร, 1(1), 23–38. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/589
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

นราทิพย์ พุ่มทรัพย์. (2550). โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมโดยอาศัยแนวทางพระบรมราโชวาทเรื่องคุณธรรม 4 ประการเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้สู่วิถี เศรษฐกิจพอเพียง.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรมสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) : มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยังยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พัชราภรณ์ ลิมปิอังคนันต์. (2552). การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มตีเหล็กบ้านร่องฟองอำเภอเมืองจังหวัดแพร่. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้– แพร่ เฉลิมพระเกียรติ.

วิเชียร วิทยอุดม และคณะ. (2552). ทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การแก้ปัญหาความฟุ่มเฟือย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะบริหารธุรกิจ. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สัมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ. (2537). ศักยภาพและเครือข่ายผู้นำท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์