การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางหลักกฎหมายกับหลักพระพุทธศาสนา: แนวคิดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางหลักกฎหมายกับหลักพระพุทธศาสนา มาใช้ในสังคม 2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านความยุติธรรมของการนำหลักพระพุทธศาสนากับแนวคิดทางหลักกฎหมายมาใช้ในสังคม 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคด้านความยุติธรรมของการนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้กับแนวคิดทางหลักกฎหมายมาใช้ในสังคม ตามแนวคิดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักกฎหมายกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันเพราะการบัญญัติกฎหมาย มักจะนำหลักธรรมมาเป็นเกณฑ์ แต่จะต่างกันในเรื่องของโทษ เพราะกฎหมาย ผู้ที่ได้รับโทษจะเป็นนามธรรมและเห็นผลในชาตินี้ แต่หลักธรรม ผู้ที่กระทำผิดจะได้รับโทษที่เป็นนามธรรมหรือเห็นผลในชาติหน้าซึ่งคำสอนทางพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ 2) กฎหมายมีความยุติธรรมเสมอแม้ว่าจะอิง หลักธรรมในพระพุทธศาสนา แต่ผู้มีอำนาจในการร่างกฎหมายต้องการให้กฎหมายมีผลเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ในชาตินี้ จึงทำให้กฎหมายดูเหมือนว่ามีป้าประสงค์ไปคนละทางกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งความจริงแล้วการบัญญัติกฎหมายต่างๆของประเทศไทยมักจะอิงอาศัยหลักพุทธธรรม แต่ในกรณีที่เห็นว่าการใช้กฎหมายย่อมขาดความชอบธรรมและความศักดิ์สิทธิ์นั้น 3) ปัญหาอุปสรรคด้านความยุติธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากผู้อำนาจในการใช้กฎหมายมักใช้ไปในทางที่ผิดเพราะใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มากกว่าส่วนรวม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรัญ ภักดีธนากุล. (2549). กฎหมายลักษณะพยาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชณัฎฐา กรัชกายพันธ์. (2559). การใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสนับสนุนหลักการประโยชน์สาธารณะในกฎหมายมหาชนของไทย. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พรรษพร ยกเชื้อ. (2541). พุทธศาสนากับปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทย: ศึกษาความคำนึงถึงศีล 5 ของผู้กระทำความผิดในเรือนจำกลางคลองเปรม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2555). นิติศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ:
วิญญูชน.
วันชัย แสงสุวรรณ. (2550). การนำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาใช้สนับสนุนหลักกฎหมายทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สมพร เทพสิทธิ์. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: สายรุ้ง.