S. W. MODEL: การบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

อริสรา สะสม

บทคัดย่อ

S. W. MODEL: การบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม เป็นการดำเนินการบริหารจัดการ เปิดโอกาสให้ ครู นักเรียนผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคณะกรรมการที่ปรึกษา เครือข่ายการศึกษาและชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยนำวงจรคุณภาพ PDCA ของเดมมิ่ง มาควบคุมการดำเนินงานภายใต้รูปแบบอีกระดับหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ครูนักเรียนบุคลากรทางการศึกษาครอบครัวและผู้ประกอบการภายในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดำเนินการเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะจากต้นทางและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ทำให้ขยะประเภทต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น จำนวนขยะที่นำไปทิ้งลดลง และมีฐานการเรียนรู้คัดแยกขยะในโรงเรียนและบูรณาการไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน

Article Details

How to Cite
สะสม อ. (2022). S. W. MODEL: การบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม. วารสารธรรมวัตร, 3(2), 15–23. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/581
บท
บทความวิชาการ

References

จิรวรรณ คุ้มพร้อม สาลีพันธุ์. (2560). การพัฒนาการบริหารจัดการขยะที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเชิงท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเกาะสมุย โดยใช้การสอนแบบทีม.วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(2), 15 – 27.

ทรงธิศักดิ์ทิพย์คา. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา.(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา

ประสาร พรหมณา. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2563, จาก http://trang.nfe.go.th/ alltis16/ UserFiles/Pdf/wijaiman.pdf

เลิศชาย ปานมุข. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการ LERTCHAI MODEL. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2563, จาก http://www.lertchaimaster.com/doc/l ertchaimodel1.pdf.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2563). การบริหารการศึกษาในและสำหรับศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2563, จาก http://www.mbuisc.ac.th/phd/thesis/administration.pdf.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ . (2563). คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2563, จาก แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/376184.

เสนาะ แก้วคง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยภาคครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลบางวัวคณารักษ์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อาณัติ ต๊ะปินตา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.