การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะเรื่องความสุขในพุทธศาสนาเถรวาท กับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

Main Article Content

พระปลัดวุฒิพงษ์ กิตฺติวณฺโณ

บทคัดย่อ

ความสุขในทัศนะของพุทธศาสนา มี 2 อย่าง คือ 1) กายิกสุข สุขทางกาย อันเกิดขึ้นจากการมีทรัพย์ การใช้จ่ายทรัพย์ การไม่เป็นหนี้สิน และการประกอบการงานไม่มีโทษ หรือความสุขที่เกิดขึ้นจากการเสพเสวยกามคุณ 5 เป็นโลกียสุข และ 2) เจตสิกสุข สุขทางใจ โดยแบ่งเป็นสุขที่เกิดขึ้นจากการได้ฌานสมาบัติ เป็นโลกียสุขแต่เป็นสุดยอดของโลกียสุข และสุขที่ได้จากการบรรลุมรรคผลนิพพาน ความสุขในทัศนะของศาสนาคริสต์ มี 2 อย่าง ได้แก่ 1) ความสุขอันเกิดจากความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เปรียบเหมือนความรักระหว่างบิดากับบุตร 2) ความสุขอันเกิดจากความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ พระเยซูสอนให้รักเพื่อนบ้าน(มนุษย์ทั้งโลก) สอนให้รักศัตรู รู้จักการให้อภัยและเสียสละ การที่มนุษย์จะมีความสุขได้ จะต้องเป็นผู้มีความรักความศรัทธาในพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจสุดปัญญาและความคิด และเมื่อมีความรักความศรัทธาต่อพระเจ้าแล้ว พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเจ้า เช่น รับศีลบับติศมาหรือศีลล้างบาป มนุษย์นั้นก็จะได้รับความรอด คือ รอดพ้นจากบาปและได้ไปอยู่ร่วมกับพระเจ้าในอาณาจักรสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ไม่มีการเกิดแก่เจ็บตายอีกต่อไป เป็นความสุขระดับสูงสุดตามเกณฑ์ของศาสนาคริสต์

Article Details

How to Cite
กิตฺติวณฺโณ พ. . (2020). การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะเรื่องความสุขในพุทธศาสนาเถรวาท กับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก. วารสารธรรมวัตร, 1(1), 1–10. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/578
บท
บทความวิชาการ

References

พระคำรณ เหว่ทู. (2551). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องความสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับความสุขในสังคมไทยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

พระมหาสมปอง มุทิโต. (2525). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระสุริยัญ ชูช่วย. (2546). การแสวงหาความสุขและคุณค่าของชีวิต กรณีศึกษา ทัศนะกลุ่มคนต่างวัยในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

พุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป.). คริสตธรรม พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (. (ม.ป.ป.). ปัญหาเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า กรรม อนัตตา. กรุงเทพฯ: เจริญรัฐการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.