พระสงฆ์กับการรักษาสุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์

Main Article Content

พระมหาพิพัฒน์ อภิวฑฺฒโน อายะนันท์

บทคัดย่อ

เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปไม่เว้นแม้ในกลุ่มพระสงฆ์ ในปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ใน ปีพ.ศ. 2566 กล่าวคือมีจำนวนสัดส่วนของประชากรสูงวัยคิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCDs) (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) : [ออนไลน์]) พบการป่วยมากที่สุด
5 อันดับแรก คือ โรคไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิต, โรคเบาหวาน, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคเข่าเสื่อม, และพระสงฆ์ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs โรคเรื้อรังเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจกล่าว คือ
การดูแลรักษาและการฟื้นฟูพระภิกษุอาพาธด้วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ คิดเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมากและยังมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพ


ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุ ดังนี้ 1. พระสงฆ์ขาดความรู้ในการรักษาสุขภาพ 2. พฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์ 3. พระสงฆ์ไม่ออกกำลังกาย ทำให้พระสงฆ์เกิดโรคและความเครียด ซึ่งพระสงฆ์ไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพอย่างถูกต้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ทำให้การดำรงชีวิตของพระสงฆ์เป็นไปตามอัตภาพ

Article Details

How to Cite
อายะนันท์ พ. อ. (2024). พระสงฆ์กับการรักษาสุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารธรรมวัตร, 5(2), 75–83. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/5375
บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ข้อมูลผู้สูงอายุทั่วไป. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2566. จาก https://www.dop.go.th/th/ know/side/1/1/1159.

โกนิฏฐ์ ศรีทอง และคณะ. (2564). สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1793-1804.

ประชาชาติธุรกิจ. (5 มีนาคม 2566). พระสงฆ์เสี่ยงเบาหวาน-ความดัน-หัวใจ กรมอนามัยแนะถวายอาหารสุขภาพ ช่วยพระลดโรค. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2566. จาก https://www.prachachat.net/ general/news-1221924.

พัชรินทร์ มณีพงศ์ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 4(1), 84-93.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). พระวินัยปิฎก เล่มที่ 2 มหาวิภังค์ ทุติยภาค และอรรถกถา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย:

โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติการเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายในพระสงฆ์. กรุงเทพฯ: บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (สช.). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. นนทบุรี: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.