การสร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัดตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูภาวนาปัญญาคุณ ศุภกร ญาธนัช

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้กล่าวถึงการใช้สมาธิบำบัดเป็นการพยายามแก้ไขปัญหาสุขภาพเพื่อเป็นการฝึกจิตใจให้มีพลังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในมิติของการสร้างเสริมสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตใจ ท่ามกลางบริบทของการดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันที่จะต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ อันมีผลกระทบจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตามกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกระแสภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้เกิดโรคที่เกิดจากความเครียด ความกังวล ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องเสียสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ ตามมา การใช้สมาธิบำบัดตามแนวทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวคิดของการสร้างเสริมสุขภาพที่น่าสนใจ สามารถนำองค์ความรู้เรื่องสมาธิมาผสานกับศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ทำให้เกิดการบูรณาการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันและเยียวยารักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ญาธนัช พ. ศ. (2024). การสร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัดตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารธรรมวัตร, 5(2), 67–74. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/5374
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561) . สธ.ห่วง คนไทยเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชั่วโมงละ 37 คน เร่งวางแนวทางป้องกัน. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ.2561. จาก https://www.khaosod.co.th/monitornews / news_1421769.

ตนุพล วิรุฬหการุญ. (2565). วิกฤตโรคอ้วน กับคุณหมอแอมป์. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565. จาก https://www. bdmswellness.com/knowledge/obesity-crisis.

ประชาชาติธุรกิจ. (2565). ทั่วโลกพบป่วยเบาหวาน 537 ล้านคน ไทยพบรายใหม่ปีละ 3 แสนคน. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565. จาก : https://www.prachachat.net/general/news-1117805.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิริยังค์ สิรินธโร. (2548). พื้นฐานการทำสมาธิ. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2566). รักษาใจยามป่วยไข้. (พิมพ์ครั้งที่ 110). มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม.

สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2541). วิวัฒนาการการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ.กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). แผนการดำเนินงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริสุขภาพ.

สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี และคณะ. (2554). สมาธิบำบัดแบบ SKT รักษาสารพัดโรคได้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ปัญญาชนการพิมพ์.

สมพร กันทรดุษฏี เตรียมชัยศรี. (2556) การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552. นนทบุรี: บริษัท วิกิ จำกัด.

Donatelle, R.J. & Davis, L.G. (1993). Access to Health. (2nd ed.) New Jersy: Prince-Hall.

Edleman, C.L. & Mandle, C.L. (1994). Health Promotion Throughout the Lifespan. (3rd ed.). United State of America: Mosby-Year Book.

World Health Organization. (2011). Scaling up action against non-communicable diseases: how much will it cost?, Geneva Switzerland: WHO Press.