บทบาทของปู่จ๋านในการส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนา อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

Main Article Content

ธนกร แคว้งอินทร์
ฐิติพร สะสม
ธนพร แคว้งอินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของปู่จ๋าน 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ของปู่จ๋าน 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของปู่จ๋านในการส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนา อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 25 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาเนื้อหา


 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปู่จ๋านในอำเภอแม่จริมมีมาพร้อมกับพุทธศาสนิกชนที่มาตั้งถิ่นฐานแต่แรก 2) ปู่จ๋านมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นผู้ประสานระหว่างพระสงฆ์ เจ้าภาพ และประชาชนทั่วไป ปู่จ๋านมีคุณสมบัติคือ เป็นผู้ที่เคยบวชเรียน มีเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย มีศีลธรรม มีความรู้ความเข้าใจในพิธีกรรม สามารถประสานงานระหว่างเจ้าภาพและพระสงฆ์ได้ ปู่จ๋านเป็นสะพานบุญเชื่อมต่อระหว่างวัดกับชาวบ้าน เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม อาทิ นำกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย นำอาราธนาศีล รับศีล นำอาราธนาธรรม นำอาราธนาพระปริตร 3) บทบาทของปู่จ๋านในการส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนา อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน สามารถประมวลได้ 5 ด้าน คือ (1) ด้านการบำรุงพระพุทธศาสนา ปู่จ๋านอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนา (2) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ปู่จ๋านปฏิบัติตัวเป็นคนดีมีศีลธรรม (3) ด้านการส่งเสริมศาสนพิธีกรรม ปู่จ๋านส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร เจริญพุทธมนต์ (4) ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ปู่จ๋านสร้างจิตสำนึกรักศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่เด็กและประชาชน (5) ด้านการส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน ปู่จ๋านวางตัวเป็นกลาง ไม่สร้างความขัดแย้งให้กับชุมชน 

Article Details

How to Cite
แคว้งอินทร์ ธ., สะสม ฐ., & แคว้งอินทร์ ธ. (2024). บทบาทของปู่จ๋านในการส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนา อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน. วารสารธรรมวัตร, 5(2), 45–53. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/4956
บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู เรือนตุ่น และ พูนชัย ปันธิยะ. (2561). การพัฒนาปู่จ๋ารย์กับการสื่อธรรมในสังคมล้านนา. วารสารพุทธศิลปกรรม, 1(1), 82-96.

ชาญชัย ฤทธิร่วม และ โกมินทร์ วังอ่อน. (2565). ปู่จ๋าน: บทบาทการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของชุมชน กรณีศึกษา ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(2), 165-178.

พระครูภาวนาโสภิต และคณะ. (2565). นวัตกรรมเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(3), 24-40.

พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ. (2565). พระพุทธศาสนารากฐานภูมิปัญญาไทย. แพร่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเมืองแพร่การพิมพ์.

ภัทรพร สิริกาญจน. (2557). พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเอกภาพในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 4 (6 เมษายน 2560).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม. (2475). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 49 หน้า 534 (10 ธันวาคม 2475).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). สำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/ storage/survey_detail/2023/20230501053015_16851.pdf

สุริยา รัตนกุล. (2555). พิธีกรรมในศาสนา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.