การมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง จำแนกเพศ อายุ การศึกษา และรายได้ต่างกัน มีส่วนร่วมการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ไม่ต่างกัน
จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรมเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง มี 6 ด้าน คือ 1) การส่งเสริมความรู้และถ่ายทอดความรู้ 2) การสร้างความสัมพันธ์ของคนแต่ละรุ่น 3) การปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 4) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ 5) การสร้างเครือข่ายด้านภูมิปัญญา 6) การบรรจุประเพณีวัฒนธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์. (2561). การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่ออนุรักษ์อัตลักษณ์ทางล้านนาของชุมชนเทศบาลตำบลเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. (รายงานวิจัย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ทักษิณ ประชามอญ. (2560). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์. (2562). แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทล้านนา ของจังหวัด ลำปาง. (รายงานวิจัย). วิทยาเขตเชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธัญลักษณ์ สาวันดี. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธ ขององค์การ
บริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน-ศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นุชนลิน กลิ่นบัว. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน-ศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประชิด สกุณะพัฒน์. (2546). วัฒนธรรมพื้นฐานประเพณีไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา.
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2543). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
พระครูนิรมลธรรมสถิต (วีระนนท์ ถิรธมฺโม). (2557). การมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมุต รุจิรากูล. (2554). ประเพณีและพิธีกรรม 4 ภาคของไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดบุคส์.
ร่มปรางค์ สวมประคำ. (2559). รูปแบบการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อความโปร่งใสในการบริหาร ราชการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมพร เกตุกัณฑ์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์).บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.