แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน วัดทองเนียม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระมหาพุทธสรณ์ ชัยสมบัติ
สุวิญ รักสัตย์
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน วัดทองเนียม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนวัดทองเนียมฯ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนวัดทองเนียมฯ กลุ่มตัวอย่าง 130 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe (Post Hoc)


ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนวัดทองเนียมฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความต้องการความสุขและความสงบใจ
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด   ( = 4.33) รองลงมาคือ ด้านที่พักอาศัย ( = 4.18) ส่วน ด้านความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.09) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนวัดทองเนียมฯ ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนวัดทองเนียมฯ โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนวัดทองเนียมฯ เรื่องการใช้เครื่องมือสื่อสารในช่วงเวลาที่ปฏิบัติธรรม พระวิทยากรมีจำนวนไม่เพียงพอในการดำเนินงาน และยังไม่หลากหลาย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศบริเวณสถานที่ปฏิบัติที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสบายในขณะปฏิบัติเนื่องจากมีอุณหภูมิที่เหมาะสมยังไม่มากพอ ยังไม่มีความพร้อมเรื่องของสถานที่พักของผู้ปฏิบัติและห้องน้ำ 

Article Details

How to Cite
ชัยสมบัติ พ., รักสัตย์ ส., & คุตฺตวีโร พ. (2024). แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน วัดทองเนียม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารธรรมวัตร, 5(2), 36–44. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/4947
บท
บทความวิจัย

References

พระปณิธิ กิตฺติธโร (ตันติธนาธร). (2560). แรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วัดประดับจังหวัดสิงห์บุรี(วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระภูมินทร์ ตรีภพอารักษ์. (2559). ความพึงพอใจต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานครแห่งที่ 37 (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

มหาเถรสมาคม. (2543). ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ. 2543. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567, จาก http://www.mahabunhome.com/rb_ms_patibat _center. pdf.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏ-ราชวิทยาลัย