การเสริมสร้างพลังใจด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของหลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล

Main Article Content

ยุวดี โพธิ์ทองสุนันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2) ศึกษากระบวนการเสริมสร้างพลังใจด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 3) วิเคราะห์การเสริมสร้างพลังใจด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวของหลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเนื้อหา 


ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีหลักการและวิธีปฏิบัติตามพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์วิเสส สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาเถรวาท 2) กระบวนการเสริมสร้างพลังใจด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีการสอนที่เป็นขั้นตอน สอนและสอบอารมณ์แบบเดี่ยว 3) วิเคราะห์การเสริมสร้างพลังใจด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประเด็นหลัก ผู้ปฏิบัติสามารถสร้างพลังใจด้วยตนเอง มีจิตใจเข้มแข็ง เข้าใจชีวิตและธรรมชาติมากขึ้น ประเด็นรอง 6 ข้อ (1) การเสริมสร้างพลังใจโดยใช้หลักพละ 5 ได้ผลดีในการเสริมสร้างความเชื่อที่ถูกต้อง ความเพียรในการปฏิบัติกิจต่างๆ การระลึกรู้ จิตใจแน่วแน่ในอารมณ์เดียว และ การเสริมสร้างความรู้เท่าทันกิเลส (2) ความคาดหวังของการมาปฏิบัติคือ ความสุขสงบในชีวิต (3) วิธีและผลการปฏิบัติ ใช้ความเพียรพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม รู้ตัวทั่วพร้อม ผลการปฏิบัติแตกต่างกัน ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสติปัญญา (4) ผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ สุขภาพแข็งแรงขึ้น จิตใจเข้มแข็ง มีพลังใจมากขึ้น (5) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน เป็นผลดีต่อตนเองและสังคม (6) ทัศนคติต่อการปฏิบัติดี มีพลังใจ

Article Details

How to Cite
โพธิ์ทองสุนันท์ ย. (2024). การเสริมสร้างพลังใจด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของหลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล. วารสารธรรมวัตร, 5(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/4923
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2566). สรุปสถิติทั่วโลก รายงานสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2566.

จาก https://covid19.anamai.moph.go.th/en/.

คณะศิษยานุศิษย์ หลวงปู่ทอง สิริมงคโล. (2565). ทางสายเอก. (พิมพ์ครั้งที่ 8). เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดสมภาร สมภาโร (ทวีรัตน์). (2564). การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพจิตของบุคคล. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพยุง เมธาวี (สืบสำราญ). (2560). การวิจัยประยุกต์ใช้วิปัสสนากัมมัฏฐานของวัดราษฎร์บำรุงหนองลี ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมมงคล, วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงคโล). (2565). คู่มือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน 4. เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์.

พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร และคณะ. (2564). การปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพื่อบำบัดความเครียด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 329-342.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ส. มหาปัญโญภิกขุ. (2556). ฝึกใจให้รู้แจ้งตามหลักสติปัฏฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วาย เอ็ม ครีเอทีฟ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 51). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

สุภีร์ ทุมทอง. (2558). อินทรีย์ 5 พละ 5 (ชุดโพธิปักขิยธรรม). นนทบุรี: ภาพพิมพ์.

Daphne M. Davis, Ph.D. & Jeffrey A. Hayes, Ph.D. (2012). What are the benefits of mind-fulness. American Psychology Association, 43(7), 64-79.