พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิบาทธรรมกับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน 3) เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านตามหลักอิทธิบาทธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 363 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง
ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรฯ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากร (r = 0.527) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพุทธบูรณาการเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรฯ ตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่าการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มีการชักนำหลักธรรมเด่นๆ ในแต่ละข้อให้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน นำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงาน เป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ต่อองค์กรในการพัฒนาบุคลากรด้านขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ซึ่งหลักการของอิทธิบาทธรรมมีจุดหมายที่ต้องการให้เป็นอารมณ์ของจิต แล้วปลุกเร้าระดมเข้าหนุน สมาธิก็เกิดขึ้นและมีกำลังแข็งกล้าช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองสวัสดิการแรงงาน. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life). อนุสารแรงงาน, 11(4), 17-22.
ขจรศักดิ์ สุขเปรม. (2565). คุณภาพชีวิต ความสุขในการทำงานต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรกรมอนามัย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองการเจ้าหน้าที่กรมอนามัย.
ณฐวัฒน์ ธิมิตร. (2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 171-185.
ณิชาภัทร เงินจัตุรัส. (2555). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 โรงเรียนวรรณรัตน์ศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบรรจง ติสรโณ (ศรีสุข). (2560). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม 4 ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปริยัติคุณรสวิทยา อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพรรณเชษฐ์ เขมโก (พิมพ์ปัด). (2554). การบริหารบุคลากรตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ระพีพัฒน์ กิตติภิรมย์สันต์. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนาภรณ์ บุญมี. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาดี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(2), 1-10.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. (2565). ข้อมูลทั่วไปสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. น่าน: กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน.
อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเทศบาลดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.