การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายพระคิลานุปัฏฐากในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายพระคิลานุปัฏฺฐาก 3) ศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายพระคิลานุปัฏฐากในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน จาก 4 องค์กร ได้แก่ 1) กลุ่มพระคิลานุปัฏฐาก 2) กลุ่มพระอาสาคิลานธรรม 3) กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข 4) โรงพยาบาลสงฆ์ โดยสัมภาษณ์ สัมมนา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ และการประชุมกลุ่มในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค 6’ C
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทเครือข่ายพระคิลานุปัฎฐากฯ เป็นภาคีที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อาศัยการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์และศึกษาบทบาทภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์โดยการค้นหาปัญหาและความต้องการของพระสงฆ์ การสังเกตพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพระสงฆ์ทั้ง 7 ด้านในการดูแลสุขภาวะ, การมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายพระคิลานุปัฏฺฐาก โดยค้นหาสาเหตุของปัญหาสุขภาพของพระสงฆ์วางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งสมาชิกสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือกและการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสม การติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รับรู้ และเรียนรู้, การสร้างเครือข่ายพระคิลานุปัฏฺฐากมีลักษณะเชื่อมโยงบทบาทของกลุ่มซึ่งมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนา ความร่วมมือกันในลักษณะการประสานงานกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ประเวศ วะสี. (2541). ชุมชนเข้มแข็ง ทุนทางสังคมไทย. หนังสือชุดชุมชนเข้มแข็งลำดับที่ 1. สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมและธนาคารออมสิน.
ปิ่นปินัทธ์ เหลืองพิทักษ์. (2566). รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายสุขภาวะของพระอาสาสมัคร ส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) ในจังหวัดลำพู. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์. 7(2).
พระปลัดทัศนพล เขมจาโร, พระอุดมสิทธินายก (กําพล คุณงฺกโร), พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(1).
พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณพระครูภาวนาธรรมโฆสิต, และพระครูปริยัติรัตนาลงกรณ์. (2566). บทบาทพระคิลานุปัฏฐาก สุขภาวะพระสงฆ์ สังคมชีวิตวิถีใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 5(2).
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).
ยุพา วงศ์ไชย. (2566). สถานภาพและบทบาทการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพภาคเอกชนในประเทศไทย. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพสถาบันวิจัยสาธารณสุข.
รติยา วิภักดิ์. เสฐียรพงษ์ ศิวินา. และกุศลาสัย สุราอามาตย์ะ. (2563). รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพของเครือข่ายสุขภาพอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(3).
วิภาวดี สีตนไชยและกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การรับรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตามธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 6(3).