ระบบกินเมือง: การพัฒนาจริยธรรมทางการบริหารงานภาครัฐ

Main Article Content

พระมหาประเวศ ปญฺญาทีโป
พระสมุห์ชาติศักดิ์ ปริชาโน
ฐิญาภัณณ์ วงษา
อำนาจ สาเขตร์

บทคัดย่อ

องค์กรภาครัฐเป็นสถานที่ผสานผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจากวิวัฒนาการของระบบกินเมืองจวบจนการพัฒนาระบบป้องกัน เพื่อควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ให้ชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมจรรยาจากการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการสู่การกระจายอำนาจออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของการออกกฎหมายและระบบกลไกต่าง ๆ จากรัฐธรรมนูญสู่องค์กรอิสระ โดยชี้ให้เห็นมุมมองของกระบวนการพัฒนาจริยธรรมทางการบริหารงานภาครัฐจากอดีตสู่ปัจจุบันที่ยังคงร่องรอยแห่งการใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประพฤติมิชอบและชี้ให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรภาครัฐเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างกัน จึงทำให้ระบบนี้เป็นระบบที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนกระบวนการบริหารพัฒนาประเทศเพราะติดกับดักวัฒนธรรมจากระบบเจ้าขุนมูลนายที่มากด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ควบคู่กับอำนาจบารมีที่แผ่ขยายไปในทั่วทุกสารทิศจนสามารถพัฒนาความชอบธรรมให้เกิดขึ้นกับตนเองและพวกพ้องได้ ในบทความนี้จึงได้เสนอมุมมองในการกำหนดรูปแบบการทำงานขององค์กรภาครัฐภายใต้กรอบจริยธรรมในการทำงานเพื่อใช้เป็นวิถีทางในการประพฤติปฏิบัติและเป็นกลไกในการควบคุมตรวจสอบผลการทำงานให้มีประสิทธิภาพตามเจตจำนงเชิงนโยบายเพื่อเป็นหลักค้ำประกันความเป็นสากลและเพื่อสร้างความยอมรับในเวทีโลกแต่ผลของการปฏิบัติกับเกิดความล้มเหลวจากการประพฤติมิชอบที่มีให้เห็นตามหน้าสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันและใต้พรมที่รอการเปิดเผยอยู่จำนวนมากเพื่อชี้ให้เห็นถึงผลของการปฏิรูปและแนวทางการกำหนดทิศทางในอนาคต

Article Details

How to Cite
ปญฺญาทีโป พ., ปริชาโน พ., วงษา ฐ., & สาเขตร์ อ. (2024). ระบบกินเมือง: การพัฒนาจริยธรรมทางการบริหารงานภาครัฐ. วารสารธรรมวัตร, 5(1), 87–93. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/4056
บท
บทความวิชาการ

References

Chantharanson. V. (1991). Toward 100 years of Thai civil service reform: the past, present, and future of reforming ministries, bureaus, and departments. Thai Journal of Development Administration. Vol.31 (1), 1-29.

Chayachindawong. P. & Thamadisai. T. (2007). Ethics and Thai government officials. Executive Journal. Vol.27 (3), 34 – 37.

Highland Research and Development Institute (Public Organization). (2023). Interesting Legal Articles: Bribes and Conflicts of Interest. Retrieved October 1, 2003. From https://www.hrdi.or.th/InternalRules/Detail/1480

Inon. P. (2010). Urban eating. Office of the Royal Society. Retrieved October 1, 2003. From http://legacy.orst.go.th/?knowledges

King Prajadhipoks Institute. (2002). Thailand's independent organizations and related laws. Nonthaburi: King Prajadhipoks Institute.

Nakpattharapong. N., Sunyavivat. S., & Bunnag. P. (2012). The Tesapibal Countries Administrative Management in the Reign of King Chulalongkorn. Journal of Behavioral Science. Vol.18 (2), 140-154.

Sattayanurak. A. (2022). The change of thoughts/emotion about “Integrity” in Thai society. Under the strategic target plan (Spearhead) in the social aspect. Thai people 4.0 plan. National Research Council of Thailand (NRCT). 1-36.

Songklin. P. (2020). Ethics in Public Administration for the 21st Century. Mahasarakham: Aphichatkanphim.

Vattana. S. (2013). Morals and ethics of public administration. Damrong Rajanuphab Journal. Vol.14 (49), 36-44.