แรงจูงใจ ภาพลักษณ์และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง

Main Article Content

นันทา หอมแก่นจันทร์
ธนกร สิริสุคันธา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านแรงจูงใจ ภาพลักษณ์และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ภาพลักษณ์และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เคยมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรีจังหวัดลำปาง จำนวน 385 คน เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมาน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของด้านภาพลักษณ์ส่งผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรีจังหวัดลำปาง มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านแรงจูงใจ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ และ 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter พบว่า ด้านภาพลักษณ์ และด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวส่งผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรีจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านแรงจูงใจไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

How to Cite
หอมแก่นจันทร์ น. ., & สิริสุคันธา ธ. (2024). แรงจูงใจ ภาพลักษณ์และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวทหาร บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง. วารสารธรรมวัตร, 5(1), 36–49. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/4038
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายัง ‘จังหวัดลำปาง’ ปี 2566. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว.

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2565). อิทธิพลของแรงจูงใจและการรับรู้องค์ประกอบการท่องเที่ยว

ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง จังหวัดภูเก็ต.

คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 3. (2565). บ้านป่องนัก พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32. [Online]. Available : https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1982612.

ณัฐพงศ์ วิชัยดิษฐ์ และผกามาศ ชัยรัตน์. (2563). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยพะเยา.

พัทธมน ภมรานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เมษ์ธาวิน พลโยธี, วันชัย ทิพนัส, วิรังรอง จุ่นหัวโทน, สิรินทิพย์ สุวรรณมาโจ. (2565). ศักยภาพเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรม ในอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรวศา เหมาะสิรากุล และวรรณัย สายประเสริฐ. (2564). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวจีน. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุขุม คงดิษฐ์ และธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ. (2558). การศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของมรดกโลกนคร ประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ในสายตานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สุรีรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2545). พฤติกรรมการท่องเที่ยว.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

Cochran, W.G. (1977). Wiley : Sampling Techniques. 3rd ed. New York : John Wiley & Sons.

Likert. (1970). New Partterns of Management. New York : McGraw-Hill.

Srirathu Vipa. (2008). Eco–tourismPotentialofAmphoeKhaoKhoPhetchabun Province. Master of Science Degreein Ecotourism Planning and Management. Srinakarinwirot University.Bangkok.