การจัดการสมัยใหม่ตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

พนมพร เมฆพัฒน์
พระครูวีรศาสน์ประดิษฐ์
บุญเตือน ทรัพย์เพชร
พระครูสุจิตพัฒนพิธาน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีความประสงค์ศึกษาเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมเพื่อนำมาบูรณาการใช้กับการจัดการสมัยใหม่ (Modern management) ในปัจจุบันนี้การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อนในองค์การมากขึ้น จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิตอล AI เทคโนโลยี การจัดการเชิงระบบ การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีความสัมพันธ์กันและกัน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์การ การบริหารจะประสบความสำเร็จได้ในองค์กรต้องได้รับความร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เนื่องจากโลกในยุคปัจจุบันเป็นระบบทุนนิยมหรือบริโภคนิยมที่แสวงหากำไรและมีการแข่งขันเพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่ง ทั้งในเชิงบริหารงานและการพัฒนาเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การ จึงมีหลักการบริหารสมัยใหม่เข้ามาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ โดยให้ความสำคัญกับผู้นำและเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกันโดยการปลูกฝังลักษณะนิสัยในตนเองไปจนถึงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม องค์การที่ได้มีการนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการใช้สอดคลองกับองค์การทั้งด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การและวัฒนธรรมในองค์การ เพื่อให้การบริหารงานในองค์การประสบความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
เมฆพัฒน์ พ., พระครูวีรศาสน์ประดิษฐ์, ทรัพย์เพชร บ., & พระครูสุจิตพัฒนพิธาน. (2024). การจัดการสมัยใหม่ตามหลักพุทธธรรม. วารสารธรรมวัตร, 5(1), 73–78. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/3895
บท
บทความวิชาการ

References

ศิริวรรณ เสรีรัตนและคณะ. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด.

สุรพล สุยะพรม และคณะ. (2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Daft, L. (1999). Leadership: Theory and practice. The Dryden Press Harcourt Brace College Pubishers.

Taylor Frederick W. (1998). The Principle of Scientific Management. Norcross GA: Engineering and Management Press.