การออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการรังแก ของนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาพฤติกรรมการรังแกและเพื่อออกแบบกิจกรรมการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสตูล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูฝ่ายกิจการนักเรียน ครูผู้สอน นักเรียนที่มีพฤติกรรมการรังแกผู้อื่น นักเรียนที่ถูกรังแก ผู้ปกครอง และนักจิตวิทยาคลินิก รวมทั้งสิ้น 31 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่พบบ่อยที่สุดคือการล้อเลียนปมด้อย การมีความคิดว่าเมื่อถูกแกล้งแล้วต้องเอาคืน และการถูกเพื่อนกีดกันออกจากกลุ่ม 2) การออกแบบกิจกรรมแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการรังแก ประกอบด้วย (1) การสร้างบทบาทสมมติ โดยกำหนดเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงในประเภทต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างความเข้าใจกัน (2) กิจกรรมปรับทัศนคติ เพื่อเสริมความมั่นใจในการกล้าตัดสินใจ และเข้าใจตนเอง (3) กิจกรรมโฮมรูมเพื่อให้ครูได้สื่อสารและรับรู้ปัญหาของนักเรียน และ (4) กิจกรรมเรียนรู้นอกหลักสูตร เช่น กีฬา ร้องเพลง ดนตรี เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกช ไชยวงค์. (2559). การกลั่นแกล้งในชั้นเรียน ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้. เชียงใหม่: โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
กรมสุขภาพจิต. (2564). บูลลี่ (Bully). ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30612.
เกษตรชัย และหีม. (2554). พฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียน. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 32(1), 158-166.
พะยอม วงศสารศรี. (2562). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สารเชษฐ.
พัชรินทร์ อรุณเรือง. (2556). แนวทางการดูแลช่วยเหลือวันรุ่นที่มีพฤติกรรมความรุนแรงสำหรับบุคลากร สาธารณสุข.กรุงเทพ : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิตและวัยรุ่นราชนครินทร์
พินิจ ฟ้าอำนวยผล.(2552 ). พฤติกรรมการรังแก . กรุงเทพฯ :บำรุงสาสน์.
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. (2550).คู่มือครู การจัดระบบความปลอดภัยในโรงเรียน.กรุงเทพฯ: ส. เสริมมิตรการพิมพ์จำกัด.
สมร แสงอรุณ. (2554). การศึกษาและพัฒนากลยุทธ์การป้องกันตนเองจากการถูกข่มเหงรังแกของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาการจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ
อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21.Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(3),1643-1658.
Khantee, P. (2015). Criminological Theory: Principle, Research and Policy Implication. (5th ed). .Bangkok: S.Charoen Publisher.
Olweus D. (2011). Bullying at school and later criminality.finding from three Swedish communitysamples of males. Crim Behan Ment Health.
Sripa, K. (2019). Criminal Psychology. (1st ed). Nakhonpathom: Phum Publisher.