แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

กนกวรรณ ตุรงคินานนท์
ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 6 ด้าน คือ (1) ด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ดิจิทัล (2) ด้านความรู้ความสามารถและเป็นผู้นำการใช้ดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม (3) ด้านการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (4) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล (5) ด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะดิจิทัล (6) ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วม และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาฯ ทั้ง 6 ด้าน มีแนวทาง 26 แนวทาง ประกอบด้วย ด้านที่ 1 วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ดิจิทัล มี 5 แนวทาง เช่น พัฒนาด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ดิจิทัล ด้านที่ 2 ความรู้ความสามารถและเป็นผู้นำการใช้ดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม มี 4 แนวทาง เช่น พัฒนาพัฒนาความรู้ และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้งด้านซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ด้านที่ 3 การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มี 5 แนวทาง เช่น พัฒนาระบบบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน ด้านที่ 4 การจัดสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล มี 4 แนวทาง เช่น สร้างระบบนิเวศทางวิชาการให้มีบรรยากาศเป็นสถานศึกษาดิจิทัล ด้านที่ 5 การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะดิจิทัล มี 4 แนวทาง เช่น การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะดิจิทัล และ ด้านที่ 6 การสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วม มี 4 แนวทาง เช่น พัฒนาด้านการสื่อสาร

Article Details

How to Cite
ตุรงคินานนท์ ก., & ตระกูลเกษมสุข ป. (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารธรรมวัตร, 5(1), 1–6. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/3709
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2565, จาก http://www.moe.go.th.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570).

สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.secondary.go.th.สพฐ.pdf.

คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2562). 25 Elememt Digital Competen-cy. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563, จาก http://www.Dlbaseline. org/digital-/Competency.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2664, จาก http://nurse.psru.ac.th/wp-content/uploads/2020.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565, จาก https://www. obec.go.th/wpcontent/uploads/2023/04/-66-PDF.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565, จาก https://www. moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหา

วิทยาลัย.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2563) การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564, จาก https://

www.Truelookpanya/knowledge/content/52232/-ed-t2s1-t2s3.

Elliott, T. (2017). Digital Leadership: A Six-Step Framework for Transformation. Retrieved July 6,2020, from http://www.digitalistmag.com/author/telliott.

McREL International. (2010). National Educational Technology Standards for Administrators (NETS- A). Retrieved June 10, 2020, From https://www.mcrel.org/educational-technology-standards-foradministrators-netsa.