การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ตามการรับรู้ของประชาชน

Main Article Content

ธานี เกสทอง
อานนท์ เมธีวรฉัตร
วรกฤต เถื่อนช้าง
วินัย ทองมั่น
ทนง ทศไกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ตามการรับรู้ของประชาชน 2. เปรียบเทียบระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ตามการรับรู้ของประชาชน โดยจำแนกตามลักษณะของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนในตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี รวมทั้งหมดจำนวน 353 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Independent และ One Way ANOVA


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ตามการรับรู้ของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ( = 4.37) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการบริหารอยู่ในระดับมากลำดับแรก คือ หลักความรับผิดชอบ( = 4.50) รองลงมา คือ หลักนิติธรรม ( = 4.46) หลักความคุ้มค่า( = 4.43) หลักความโปร่งใส ( = 4.42) หลักคุณธรรมด้าน( = 4.28) ที่มีการบริหารเป็นลำดับสุดท้าย คือ หลักความมีส่วนร่วม( = 4.23)

  2. 2.ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่เขียว อําเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ตามการรับรู้ของประชาชน โดยจำแนกตามคุณลักษณะบุคคลของประชากร ประกอบด้วย เพศ รายได้ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
เกสทอง ธ. ., เมธีวรฉัตร อ., เถื่อนช้าง ว., ทองมั่น ว., & ทศไกร ท. (2024). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ตามการรับรู้ของประชาชน. วารสารธรรมวัตร, 5(1), 50–59. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/3664
บท
บทความวิจัย

References

กรุณา วิไลสมกุล. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การ

บริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ

ภาครัฐและเอกชน). มหาวิทยาลัยบูรพา.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). จุดบอดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายการศึกษา.

ทศพล พรหมนารถ. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ

เทศบาลตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระไพฑูรย์ รตนิโก (ศรีวิชา). (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตําบล

บ้านแดง อําเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี(วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระสวัสดิ์ ชินวํโส (เชื้อคำฮด). (2555). การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการของเทศบาลตำบล

ดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

วีระ หาญกันและสุวรัฐ แลสันกลาง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วน

ตําบลบ้านดง อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. 5(1).

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและ

สังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.