หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีสืบชะตาของชาวไทยลื้อ เมืองเงิน แขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

Phra Oudom Wenkham
Phra Boun Ouane Vongmaly
สิทธิชัย อุ่นสวน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีสืบชะตาของชาวไทลื้อ เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ศึกษาบทสวดพุทธมนต์ที่ปรากฏในประเพณีสืบชะตาของชาวไทลื้อ เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีสืบชะตาของชาวไทลื้อ เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม รวบรวมข้อมูลและทำการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาเนื้อหา 


ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของประเพณีสืบชะตาของชาวไทลื้อ เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี มีพื้นฐานมาจากความเชื่อสองประการคือ 1) มีพระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดของประเพณีสืบชะตา ด้วยความเชื่อเรื่องของการต่ออายุ จากวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา 2) เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคล คือ เป็นความเชื่อของบุคคลที่เชื่อในเรื่องของเวทย์มนต์ คาถา ฤกษ์ยาม หรือโหราศาสตร์ ที่ประกอบทำพิธีสืบชะตาแล้วจะปัดเป่าอันตรายทั้งหลาย ให้ออกจากตัวได้หายจากความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ บทสวดพุทธมนต์เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดศรัทธาความเชื่อในเรื่องของอานุภาพบำบัดทุกข์โศกโรคภัยไข้ป่วยและความร้อนรนกระวนกระวายใจ ขจัดภัยอันตราย หลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีสืบชะตาของชาวไทลื้อ เมืองเงิน แขวงไชยบุรี นั้นถูกสอดแทรกเข้าไปในคัมภีร์ธรรมที่นำไปเทศน์ประกอบพิธีสืบชะตาปรากฏ 2 หลักธรรมได้แก่ หลักปาฏิหาริย์ 3  และหลักบุญกิริยาวัตถุ 3

Article Details

How to Cite
Wenkham, P. O., Vongmaly, P. B. O., & อุ่นสวน ส. (2024). หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีสืบชะตาของชาวไทยลื้อ เมืองเงิน แขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารธรรมวัตร, 4(2), 52–62. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/3658
บท
บทความวิจัย

References

กริช อินเต็ม. (2557). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนาเรื่อง มหา วิบาก. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 223-232.

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2537). แลลาว. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.

คำแดง กมมะดำ และ คำแพง ทิบมนตรี. (2535). ท่องเที่ยวบรรดาชนเผ่าอยู่ลาว. เวียงจันทน์: สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมและสังคม.

ธนิด อยู่โพธิ์. (2547). อานุภาพพระปริตต์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินดิ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ประชัน รักพงษ์. (2537). โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.

ประชัน รักพงษ์. (2540). การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านไทลื้อในภาคเหนือของ สปป.ลาว. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 234-245.

พุ่มพวง อภิวงค์. (2537). คติชนกับการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทลื้อ บ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 83-92.

พระราชเขมากร. (2557). พระวิทยากรเสวนา (สืบชะตาล้านนา: แนวคิดและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของชุมชนในล้านนา), ณ. วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อำเภอเมืองจังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม.

สุรสิงห์สำรวม ฉิมพะเยาว์. (2526). ภาษาสัญลักษณ์ในพิธีสืบชะตา: ตัวอย่างวรรณกรรมเงียบ. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้าน: คติความเชื่อศิลปกรรมและภาษา, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สีสะเหลียว สะแหวงสีกสา. (2532). ภูมิศาสตร์ลาว. เวียงจันทน์: สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์และสังคม.