หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมกิจการกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์ สตรีเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน

Main Article Content

ศรีสวัสดิ์ แพทย์สมาน
สิทธิชัย อุ่นสวน
จุฑามาศ คำสม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์สตรีเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน 2) ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์สตรีเทศบาลเมืองน่าน  จังหวัดน่าน และ 3) ศึกษาพุทธธรรมในการส่งเสริมกิจการกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์สตรีเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีสมาชิกกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์ เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง 


ผลการวิจัย พบว่า 1) กองทุนสัจจะสะสมทรัพย์สตรีเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2546 โดยกลุ่มสตรีในเขตเทศบาลเมืองน่าน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งทุนของสตรีในเขตเทศบาลเมืองน่าน 2) การบริหารจัดการกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์สตรีเทศบาลเมืองน่านมี 2 รูปแบบ คือแบบดั้งเดิม อาศัยความซื่อสัตย์ ไว้เนื้อเชื่อใจ กับคณะทำงานของกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์ และ รูปแบบใหม่ อาศัยระบบการบริหารสมัยใหม่เข้ามาบริหารจัดการ มีกระบวนการการบริหาร 7 ประการ คือ 1) วางแผน 2) จัดองค์การ 3) จัดบุคลากร หรือจัดคนเข้าทำงาน 4) อำนวยการ 5) ประสานงาน 6) รายงาน และ 7) งบประมาณ 3) หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้กับการบริหารกองทุนสัจจะสมทรัพย์สตรีเทศบาลเมืองน่าน คือหลักของพรหมวิหารธรรม 4 หลักอิทธิบาท 4 หลักฆราวาสธรรม 4 และหลักขอความเป็นกัลยาณมิตร 7 เป็นผลให้ผู้บริหารและสมาชิกกลุ่มเกิดการทำงานอย่างมีคุณธรรมหน้าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยสร้างความซื่อสัตย์ความสุจริตในการปฏิบัติงานตาม ก่อให้เกิดการพัฒนาเงินในกองทุนมากขึ้นทำให้นำผลที่ได้จากดอกเบี้ยหรือการปันผลเงินจากกองทุนมาสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเองและชุมชนไปสู่การพัฒนาที่ดียั่งยืน

Article Details

How to Cite
แพทย์สมาน ศ. . ., อุ่นสวน ส., & คำสม จ. (2024). หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมกิจการกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์ สตรีเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสารธรรมวัตร, 4(2), 42–51. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/3610
บท
บทความวิจัย

References

ธณจรัส พูนสิทธ์. (2541). การจัดการองค์การและการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

ธยายุส ขอเจริญ. (2563). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน.

วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 40-57.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมจิตโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุฒิพัฒก์ ศรีไตรรัตน์. (2548). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต สำนักสงฆ์ทุ่งคาวนารามบ้านลานวัว ตำบลกะหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 98-114.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี). (2550). คนสำราญงานสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและจัดการ. กรุงเทพมหานคร: พรานนกการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อนันต์ แม้นพยัคฆ์. (2549). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิตกรณีศึกษา บ้านหนองน้ำจืด ตำบลท่าพริกอำเภอเมือง จังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.