แนวทางการส่งเสริมการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราช จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราช จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราช จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มประชากรที่ปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญ 18 ท่าน การสนทนาเฉพาะกลุ่ม เป็นเครื่องมือในการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1) หลักสัปปายะ หมายถึง สิ่งที่สบาย สภาพที่เอื้อ สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยให้สมาธิตั้งมั่นไม่เสื่อมถอย มี 7 อย่างคือ อาวาสสัปปายะ โคจรสัปปายะ ภัสสสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ อุตุสัปปายะ และอิริยาปถสัปปายะ เป็นปัจจัยให้เข้าถึงจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน
2) วัดป่าเจริญราช มีการจัดการตามหลักสัปปายะ 7 ปัจจุบันมีการปรับเสนาสนะและมีบริเวณ สวนธรรมมีน้ำไหลเวียน ทำให้อากาศถ่ายเท มีร่มเงาต้นไม้ ทำให้สำนักมีความร่มรื่น วิทยากรมีความรู้ทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ มีการสอนตามรูปแบบการปฏิบัติที่ชัดเจน
3) แนวทางการส่งเสริมการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ควรมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการจัดการที่เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ ด้วยหลักสัปปายะ 7 ทั้งในด้านสถานที่ การสัญจร การเผยแผ่ธรรม บุคลากร อาหาร อากาศและสภาพแวดล้อม เพื่อผลของการปฏิบัติที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป และสามารถนำหลักธรรมไปเป็นแนวทางเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในสังคมต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ).
(พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระราชรัตนมุนี (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ).(2538). การจัดสาธารณูปการและสาธารณะสงเคราะห์ของวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2555). มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. แปลและเรียบเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม). (2555). อริยวังสปฏิปทาปฏิปทาอันเป็นวงศ์แห่งพระอริยเจ้า. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
พระวีระศักดิ์ สุวรรณวงศ์. (2556). แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ 7 : กรณีศึกษาวัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 98-114.
พุทธชาติ แผนสมบุญ, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และ โกศล จึงเสถียรทรัพย์. (2566). รูปแบบการจัดการเรียนรู้อาชีพและทักษะอนาคตสำหรับวิทยาลัยอาชีวะและเทคนิคยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,6(1), 484-499.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Rattanawong, N. (2023). The Formulation of Model for Enhancing Oral Linguistic Performance of Teaching English Major Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus. Journal of Educational Management and Research Innovation, 5(1), 211–222.